ความเชื่อของผู้เสพยาบ้า
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อของผู้ป่วยที่เสพยาบ้า กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการบำบัดรักษากับโรงพยาบาลท่าช้าง และสมัครใจเข้าร่วมกระบวนการวิจัย จำนวน 34 คน โดยใช้แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการเสพยาบ้าวิเคราะห์ข้อมูล โดย วิเคราะห์เนื้อหา และ วิเคราะห์สถิติ ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไป ทุกคนเป็นชาย ส่วนใหญ่อายุ 21-30 ปี ต่ำสุด 16 ปี สูงสุด 53 ปี จบชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อาชีพรับจ้างร้อยละ 53.6 ,60.7 ตามลำดับ 2) ความเชื่อเกี่ยวกับการเสพยาบ้า พบว่า ส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ไม่เหมาะสม โดย ผู้ป่วยไม่เชื่อว่า การเสพยาทำให้ชีวิตแย่ลง เสียอนาคต กลายเป็นคนโกหก หลอกลวง เป็นภาระให้ครอบครัวและสังคม ตลอดจนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า การเสพยาทำให้ครอบครัวผิดหวัง แตกแยก และไม่เชื่อว่า การเสพยาจะไม่ทำให้ตนเองเกิดอาการหลอน ร้อยละ 76.5, 73.5, 73.5, 73.5, 70.6, 70.6, 70.6, 70.6 ตามลำดับ ถึงอย่างไรก็ตาม พบว่า ส่วนใหญ่มีความเชื่อที่เหมาะสม 2 เรื่อง คือ การเลิกเสพยาต้องหยุดคบเพื่อนที่เสพยา และการเลิกยาจำเป็นต้องรักษา (ร้อยละ 61.8 และ 58.8)
ข้อเสนอแนะ 1) นำข้อมูลที่ได้เป็นประเด็นพูดคุยเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย 2) รื้อถอนความเชื่อที่ไม่เหมาะสมและสร้างความเชื่อใหม่ด้วยการคืนข้อมูลปรากฏการณ์ชีวิตของผู้ป่วยที่ผ่านมา
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว