การพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจังหวัดสิงห์บุรี
บทคัดย่อ
ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวานสามารถทำให้เกิดตาบอดได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพและเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าถึงการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตาและได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีกลุ่มประชากรเป็นบุคลากรสาธารณสุขและพยาบาลที่ปฏิบัติงานในคลินิกทางตาและผู้เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลทุกแห่ง/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 54 คน และผู้ป่วยโรคเบาหวานในจังหวัดสิงห์บุรี และดำเนินกิจกรรมในระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนกันยายน 2558
ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสาธารณสุขของจังหวัดสิงห์บุรี ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการตรวจ คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานครอบคลุมในทุกสถานบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังจากนั้นบุคลากรสาธารณสุขจึงได้นำความรู้ไปปฏิบัติในการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า จังหวัดสิงห์บุรี มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 9,297 คน ได้รับการตรวจจอประสาทตาด้วยกล้อง Fundus Camera จำนวน 6,766 คน คิดเป็นร้อยละ 72.78 และพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จำนวน 6,531 คน คิดเป็นร้อยละ 96.53 มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระดับ NPDR จำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 3.04 มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระดับ PDR จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.03 และทำการรักษาให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนที่อยู่ในภาวะต้องได้รับการรักษา
ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานควรแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และควรให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ1 ครั้งเป็นการค้นหาผู้ป่วยในระยะแรก เพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว