การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และถุงลำไส้อักเสบจนแตก ร่วมกับมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รวีวรรณ ไชยประเสริฐ งานหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง-นรีเวชกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่, ถุงลำไส้อักเสบ, ติดเชื้อในกระแสโลหิต

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 38 ปี เข้ารับการรักษาแผนกศัลยกรรมหญิง  โรงพยาบาลสิงห์บุรี วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558  ด้วยอาการปวดแน่นท้องน้อยด้านซ้ายอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนเป็นน้ำ 4 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล แรกรับผู้ป่วยปวดท้องมาก มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียนเป็นน้ำ ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการทำ Ultrasound abdomen พบ Fluid collection, Inflammation of peritoneal  ตรวจวินิจฉัยเพิ่มด้วยการทำ CT Scan Whole abdomen emergency ผล Mass or Abscess of Transvers colon, Ruptured colon with Acute inflammation พิจารณาผ่าตัด Explore Laparotomy  ฉุกเฉิน ทำผ่าตัด Hartmann’s Operation and Left half colostomy หลังผ่าตัดย้ายเข้าดูแลที่ห้องผู้ป่วยหนัก  ภายหลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยยังเสี่ยงต่อภาวะช็อคจากติดเชื้อและพร่องสารน้ำ ได้ให้การพยาบาลควบคุมสารน้ำ บริหารยาเพื่อแก้ไขภาวะช็อค จนปลอดภัย หลังผ่าตัด 2 วัน วางแผนให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย Weaning protocol ผู้ป่วยสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จ ผู้ป่วยมีอาการปวดแผล และเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่บาดแผล ให้การบำบัดความปวดและดูแลบาดแผลอย่างถูกวิธี ไม่พบการติดเชื้อ วางแผนจำหน่ายโดยสอนการดูแล Colostomy ผู้ป่วยและญาติจนปฏิบัติได้  สามารถจำหน่ายผู้ป่วยได้รวมระยะเวลาที่รักษาในโรงพยาบาลจำนวน 13 วัน จากการติดตามผลการรักษาไม่พบภาวะแทรกซ้อน  ส่งต่อศูนย์มะเร็ง จังหวัดลพบุรี ให้ยาเคมีบำบัด และนัดมารับยาเคมีบำบัดอีกทุก 1 เดือน จนครบ 6 ครั้ง ปัจจุบันอาการของผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สภาพจิตใจของผู้ป่วยมีกำลังใจดีมากในการรับการรักษา

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ ความเข้าใจและเพื่อให้เกิดการเรียนรู้การดำเนินไปของโรคและการวางแผนการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่อง  ซึ่งบทบาทของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วยหนักมีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในระยะวิกฤต จากภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ทั้งระยะก่อนช็อค  ระยะช็อค  และระยะหลังช็อค  เพราะแต่ละระยะสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้  ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ไตวายเฉียบพลัน การติดเชื้อที่ปอดภายหลังการใส่ท่อช่วยหายใจ แผลติดเชื้อ ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้และพัฒนาทักษะ ความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยเพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและพึงพอใจ ลดอัตราการเสียชีวิต

References

งานทะเบียนมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. สถิติโรคมะเร็งประจำปี พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2557.

งานสถิติมะเร็ง โรงพยาบาลสิงห์บุรี สถิติโรคมะเร็งประจำปี พ.ศ.2557. โรงพยาบาลสิงห์บุรี, 2556.

Meissner, S.E.Care for patient with colorectal cancer. Nursing Times. 2012; 26(11):60-61.

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์. โรคลำไส้การวินิจฉัย และการรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-10-2022