การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงโดยใช้เครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นในโรงพยาบาลพะเยา

ผู้แต่ง

  • ยงยุทธ ชุ่มคำลือ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพะเยา

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรองการได้ยิน, ทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง, ภาวะสูญเสียการได้ยิน, เครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน

บทคัดย่อ

บทนำ ภาวะสูญเสียการได้ยินเป็นความพิการที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง การวินิจฉัยที่ล่าช้ามีผลต่อพัฒนาการทางด้านภาษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน                        

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงและผลการประเมินพัฒนาการของทารกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินที่อายุ 18 เดือน                                      

วัสดุและวิธีการ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียน ในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลพะเยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยเครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic Emission, OAE) คัดเลือกทารกกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์ของ The Joint Committee of Infant Hearing ค.ศ. 1994 และ ค.ศ. 2007 American Academy of Pediatrics กรณีที่ไม่ผ่านการตรวจคัดกรอง จะส่งต่อเพื่อตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brainstem response, ABR) และทบทวนผลการประเมินพัฒนาการของทารกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินที่อายุ 18 เดือน   

ผลการศึกษา ทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินจำนวน 317 ราย มีผลไม่ผ่านในครั้งแรก 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.4 และได้รับการตรวจซ้ำไม่ผ่าน 8 ใน 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.4 ในจำนวนนี้มีผลการตรวจระดับการได้ยิน พบภาวะสูญเสียการได้ยิน 2 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 0.66 มี 1 รายมีภาวะสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงสองข้าง อีก 1 รายมีภาวะสูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยข้างเดียว ผลการประเมินพัฒนาการที่อายุ 18 เดือน พบพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาทั้ง 2 ราย ปัจจัยเสี่ยง 3 ลำดับแรกคือ 1. การได้รับยาที่มีผลข้างเคียงต่อหูต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ 2. การใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่องกันอย่างน้อย 5 วัน 3. น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับภาวะสูญเสียการได้ยินในการศึกษานี้    

สรุปผล อุบัติการณ์ของภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงเท่ากับร้อยละ 0.66 ทารกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินมีพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาที่อายุ 18 เดือน                                                                          

References

Davis A, Mencher G. Epidemiology of permanent childhood hearing impairment. In: Newton VE, editor. Paediatric audiological medicine. London: Whurr Publishers, 2002:1-28.

Sorenson P. Universal hearing screening in the NICU: the Loma Linda University Children’s Hospital

experience. Neonatal Netw 1998;17:43-8.

Knott C. Universal newborn hearing screening coming soon: “hear’s” why. Neonatal Netw 2001; 20:25-33.

Yoshinaga-Itano C, Sedey AL, Coulter DK, Mehl AL. Language of early- and later-identified children

with hearing loss. Pediatrics 1998;102:1161-71.

American Academy of Pediatrics, Joint Committee on Infant Hearing. Year 2007 position statement: Principles and guidelines for early hearing detection and intervention programs.Pediatrics 007;120(4):898-921.

สาวิตรี ชะลออยู่. การคัดกรองการได้ยิน. ใน: พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, วินัดดา ปิยะศิลป์, วันดี นิงสานนท์, ประสบศรี อึ้งถาวร, บรรณาธิการ. Guideline in Child Health Supervision. กรุงเทพฯ:ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, 2557. หน้า140-4.

American Academy of Pediatrics, Bright Futures Periodicity Schedule Workgroup. 2017 ecommendations for Preventive Pediatric Health Care. Pediatrics. [cited 2017 May 8]. Available from: URL: https://www.aap.org/en-us/documents/periodicity_schedule.pdf

Sokol J, Hyde M. Hearing screening. Pediatric in Review 2002;23(5):155-62.

Wroblewska-Seniuk K, Chojnacka K, Pucher B, Szczapa J, Gadzinowski J, Grzegorowski M. The results of newborn hearing screening by means of transient evoked otoacoustic emissions. Int J Pediatr Otorhinolaryngol. 2005;69(10):1351-7.

จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ, กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ, ลลิดา เกษมสุวรรณ, ประชา นันทนฤมติ. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emission) ผู้ป่วยใหม่ใน1ปี ของโรงพยาบาลรามาธิบดี.วารสารหู คอ จมูกและใบหน้า 2546;4: 27-41.

C Rungjai. Results of the Sawanpracharak Newborn hearing Screening program. Medical Journal 2015;54(2):81-8.

วรวุฒิ โอฬารวณิช. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic Emission) ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2554;26(2):285-94.

วันชัย ตั้งอารมณ์มั่น. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดและทารกกลุ่มเสี่ยงโดยใช้เครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน. พุทธชินราชเวชสาร 2551;25(2):618-24.

Kiatchoosakun P, Suphadun W, Jirapradittha J, Yimtae K, Thanawirattananit P. Incidence and Risk Factors Associated with Hearing Loss in High-Risk Neonates in Srinagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2012; 95 (1): 52-7.

Khaimook W, Chayarpham S, Dissaneevate S.The High-Risk Neonatal Hearing Screening Program in Songklanagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2008;91(7):1038-42.

Srisuparp P, Gleebbur R, Ngerncham S, Chonpracha J, Singkampong J. High-Risk Neonatal Hearing Screening Program Using Automated Screening Device Performed by Trained Nursing Personnel at Siriraj Hospital: Yield and Feasibility. J Med Assoc Thai 2005; 88(Suppl 8):S176-82.

Joint Committee on Infant Hearing 1994 Position Statement. American Academy of Pediatrics Joint Committee on Infant Hearing. Pediatrics 1995; 95:152-6.

นิดา ไรท์. การตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยระยะเริ่มแรกของการได้ยินบกพร่องในเด็ก. ใน: พชรพรรณ สุรพลชัย, ศุกระวรรณ อินทรขาว, สุดาทิพย์ โฆสิตะมงคล, รัฐพล ว่องวันดี, กิติวรรณ โรจนเนืองนิตย์, บรรณาธิการ. การตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยระยะเริ่มแรกของภาวะผิดปกติในเด็ก. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส, 2558. หน้า 143-53.

Colella-Santos MF, Hein TA, Souza GL, et al. Newborn hearing screening and early diagnostic in the NICU. Biomed Res Int 2014. [cited 2017 May 8]. Available from: URL: https://www.hindawi.com/journals/bmri/2014/845308/

Beswick R, Driscoll C, Kei J, Khan A, Glennon S. Which risk factors predict postnatal hearing loss in children? J Am Acad Audiol. 2013 Mar;24(3):205-13.

Vohr BR, Widen JE, Cone-Wesson B, Sininger YS, Gorga MP, Folsom RC, et al. Identification of neonatal hearing impairment: characteristics of infants in the neonatal intensive care unit and well-baby nursery. Ear Hear 2000; 21: 373-82.

Imam SS, El-Farrash RA, Taha HM, Bishoy HE. Targeted versus Universal Neonatal Hearing Screening in a Single Egyptian Center. ISRN Pediatrics 2013;1-6.

Korver AM, Konings S, Dekker FW, Beers M, Wever CC, Frijns JH, et al. Newborn hearing screening vs later hearing screening and developmental outcomes in children with permanent childhood hearing impairment. JAMA. 2010;304:1701-8.

Stika CJ, Eisenberg LS, Johnson KC, et al. Developmental outcomes of early-identified children who are hard of hearing at 12 to 18 months of age. Early Hum Dev. 2015 Jan;91(1):47-55.

Gifford KA, Holmes MG, Bernstein HH. Hearing Loss in Children. Pediatr Rev 2009, Jun 30(6):207-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2022