ผลของการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ของพนักงานในโรงงานจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานในโรงงานจังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในโรงงานจังหวัดสระบุรี จำนวน 19 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป, ความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ, การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ, การสื่อสารสุขภาพ, การจัดการตนเอง, การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ, การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม และพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งหาความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงมีค่าเท่ากับ 0.795 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Sample t–test
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจทางด้านสุขภาพ, การเข้าถึงเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ, การสื่อสารสุขภาพ และการจัดการตนเอง อยู่ในระดับไม่ถูกต้อง ร้อยละ 42.1, 73.7, 52.6 และ52.6 (ตามลำดับ) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศและการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 52.6 และ 68.4 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 94.7 และ 63.2 (ตามลำดับ) หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจทางด้านสุขภาพ, การเข้าถึงเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ, การสื่อสารสุขภาพ, การจัดการตนเอง, การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ, การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุปได้ว่า การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานในโรงงานจังหวัดสระบุรี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ, การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ, การสื่อสารสุขภาพ, การจัดการตนเอง, การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ, การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง และพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ควรมีการส่งเสริมให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปสู่โรงงานอื่นต่อไป
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. และลดเสี่ยง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2556.
สง่า ดามาพงษ์. กินถูกสุขสง่า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พีเพิลมีเดีย จำกัด. 2555.
นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร และเดช เกตุฉ่า. การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียนมัธยมปีที่ 3 (ระยะที่ 1). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557, สืบค้นจาก http://www.hed.go.th_mod. 2554.
วรรณี นิธิยานันท์. อ้วนและอ้วนลงพุง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง จำกัด. 2554.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการจัดบริการสุขภาพ “กลุ่มวัยทำงาน”แบบบูรณาการ 2558. กรุงเทพมหารนคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2558.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด. 2559.
สินีนารถ ทรัพย์ศิริ. โครงการชมรมรักษ์สุขภาพ (องค์กรไร้พุง) อำเภอบ้านหมี่. ลพบุรี: โรงพยาบาลบ้านหมี่. 2559.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ 2ส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2556 : 2-32.
Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 2000; 15(3): 259-67.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากร ผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558; 9(2): 1-8.
โสภาพันธ์ สอาด. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำาหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558: 26(2): 41-9.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. Health Literacy ความรอบรู้ด้านสุขภาพ/ความฉลาดทางสุขภาพ/ ความแตกฉานด้านสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2560]; เข้าถึงได้จาก: http://hepa.or.th/wp-content/uploads/2017/02/ความฉลาดทางสุขภาพ-2560.pdf
อภิญญา อินทรรัตน์. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557: 15(3): 174-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว