การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
คำสำคัญ:
ทฤษฎีความสามารตนเอง, โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสิงห์บุรีที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่โรงยาบาลสิงห์บุรี ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ โดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสิงห์บุรีที่มีคุณสมบัติตามกำหนด จำนวน 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมครบ 7 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความเชื่อในความสามารถตนเอง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.0 มีอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 35.0 อายุเฉลี่ย 46.7 สถานภาพสมรส ร้อยละ 61.7 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 50.0 ก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อในความสามารถตนเองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 93.3 การบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.7 การออกกำลังกายอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 63.3 การควบคุมอารมณ์ อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 40.0 และพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. รวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.3 หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อในความสามารถตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 36.7 การบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 81.7 การออกกำลังกายอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 50.0 การควบคุมอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 41.7 และพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. รวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.7 ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคะแนนเฉลี่ยความเชื่อในความสามารถตนเอง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยของรอบเอว น้ำหนัก และค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่าก่อนการทำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในความสามารถตนเอง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์ ส่งผลให้รอบเอว น้ำหนัก และค่าดัชนีมวลกายลดลง ควรมีการส่งเสริมให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปสู่ชุมชนต่อไป โดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทในแต่ละชุมชน
References
วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. นนทบุรี : บริษัทเดอะกราฟิโกซิสเต็มส์.2533.
พัชญา บุญชยาอนันต์ และยงเกษม วรเศรษฐการกิจ. คู่มือแนวทางการดูแลผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.2558.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. บทสรุปรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและกาบาดเจ็บ พ.ศ. 2533. เอกสารอัดสำเนา.2553.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554-2563. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.2554.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการจัดบริการสุขภาพ “กลุ่มวัยทำงาน” แบบบูรณาการ 2558. กรุงเทพมหานคร : สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.2557.
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาล อาชีวอนามัย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทพเพ็ญวานิสย์. 2557.
Bandura, A. Self – efficacy : Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, (1977) ; 84 (2) : 191-215.
Bandura, A Self – efficacy Mechanism in Human Agency. American Psychologist, (1982) ;37,2 : 122-147.
สุภัทรา อะนันทวรรณ. การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.2552.
พัชราวดี คุณอุดม. การระยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูของมารดาที่มีบุตรอ้วน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2554.
สุวภัทร คำโตนด และคณะ. การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรัรบประทานอาหารและกิจกรรมทางกายของสตรีที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารสุขศึกษา. 2556 ; 36 (124) : 30-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว