การพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา เขียวรี กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี

บทคัดย่อ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (ST Elevation Myocardial Infarction: STEMI) เป็นภาวะวิกฤติฉุกเฉินทางอายุรกรรมที่พบได้บ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่สำคัญ คือ การเกิดภาวะช็อกจากหัวใจและอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้หากเกิดความล่าช้าในการเปิดหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วย ระยะเวลาในการเปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาที (door to needle times within 30 minutes) นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด จะช่วยให้เปิดหลอดเลือดหัวใจได้เร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ระยะเวลาการให้ยามีความสัมพันธ์กับอัตรารอดชีวิตโดยตรงของผู้ป่วย ดังนั้นพยาบาลที่ดูแลต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการประเมินคัดกรอง การอ่านและแปลผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ให้การดูแลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ประสานการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วและสามารถส่งต่อผู้ป่วยเพื่อทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจได้อย่างปลอดภัย จากการศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกที่ได้รับยา streptokinase แต่ไม่สามารถเปิดเส้นเลือดหัวใจได้ ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้ส่งต่อไปโรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงกว่าเพื่อทำการเปิดเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ทำให้ผู้ป่วยพ้นวิกฤติและสามารถจำหน่ายกลับมาอยู่บ้านได้อย่างปกติสุข

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์.2559.

ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์. Acute ST elevation myocardial infarction. ใน จันทราภา ศรีสวัสดิ์และคณะ. (บรรณาธิการ), Emergency Medicine. กรุงเทพฯ : นำอักษร.2551.

อภิชาต สุคนธสรรพ์. Acute ST elevation myocardial infarction. ใน อภิชาต สุคนธสรรพ์. (บรรณาธิการ), Selected Topics in Cardiac Emergency. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : I & AM organizer and advertaizing. 2552.

รวมพร นาคะพงศ์และคณะ.(บรรณาธิการ). แนวปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.2553.

เกรียงไกร เฮงรัศมีและคณะ.(บรรณาธิการ). มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. สถาบันโรคทรวงอก นนทบุรี. 2557.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.2557.

สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ใน สมจิต หนุเจริญกุล. (บรรณาธิการ), การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : วี.เจ พริ้นติ้ง.2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2022