การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บของไขสันหลังระดับคอ

ผู้แต่ง

  • วิไล สาตร์จีนพงษ์ กลุ่มงานการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอินทร์บุรี

บทคัดย่อ

การได้รับบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและไขสันหลังเป็นภาวะคุกคามต่อชีวิต ครอบครัวและสังคม การ ได้รับบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและไขสันหลังพบประมาณร้อยละ 3 ของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด โดยมีครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระดับคอ การได้รับบาดเจ็บของไขสันหลังนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิต ความพิการ ระยะการดูแลรักษาที่ยาวนาน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง

กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บของไขสันหลังระดับคอ เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 59 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ คือ พลัดตกลงมาจากต้นมะม่วง ความสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณลำคอกระแทกโอ่งน้ำไม่ทราบสลบไปนานเท่าไร ปวดต้นคอ แขนขาชาขยับไม่ได้ มีแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่ศีรษะ เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีภาวะช็อคจากไขสันหลัง (Spinal shock) และต้องได้รับการทำหัตถการและผ่าตัดแก้ไขโดยเร็ว การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้ พยาบาลต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการประเมินภาวะช็อคจากไขสันหลัง วางแผนการพยาบาลเพื่อควบคุมความดันโลหิต ป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน สามารถดูแลขณะใส่ Gardner Wells tongs ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ประเมินและป้องกันภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ การป้องกันการเกิดแผลกดทับและการดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งการดูแลต่อเนื่อง โดยครอบครัวต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย

References

ศุภาพร รัตนสิริ. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. งานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่[วันที่สืบค้น 22 พฤษภาคม 2559]เข้าถึงได้จาก http://www.med.cmu.ac.th /hospital/northo/2012/km-for-nurse/47-spinal-cord-injury-nursing-care.html.

วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ์. กระดูกหักและข้อเคลื่อนที่กระดูกสันหลัง (Fracture and Dislocation of the Spine). ออร์โธปิดิกส์ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง. 2554; 213-402.

ศุภกิจ สงวนดีกุล. บาดเจ็บที่สันหลัง (SPINAL INJURY). [วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559] เข้าถึงได้จาก http://www.ebrain1.com/hpinjspine.htm.

พงศธร ฉันทพลากร.การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง (Axial Spine injury). [วันที่สืบค้น 6 มิถุนายน 2559] เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf.

วรรณี สัตยวิวัฒน์.การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์.ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ.2551.

มัณฑนา เหมชะญาติ.การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง. ใน: วรรณี ตปนียากร,บรรณาธิการ.การวางแผนและบันทึกทางการพยาบาล เล่ม 1พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพ: ไอกรุ๊ป เพรส. 2552; 483-513.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก สันหลัง สำหรับพยาบาล.กรุงเทพ. 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2022