การควบคุมคุณภาพเพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ โดยใช้แนวคิด Six Sigma

ผู้แต่ง

  • ยุทธพงษ์ มีแก้วน้อย กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

การควบคุมคุณภาพ, การประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ, Six Sigma

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก โดยใช้แนวคิด Six Sigma และเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนและพัฒนาคุณภาพการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective data) จากการทำ internal quality control (IQC) และ external quality control (EQC) ของการวิเคราะห์ทางเคมีคลินิก 22 รายการ ผลวิเคราะห์ IQC ในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 ถึง เดือนกันยายน 2560 และ EQC ย้อนหลัง 6 เดือน ตั้งแต่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2560 ถึง กรกฎาคม 2560

ผลการศึกษา : จากการนำแนวคิด Six Sigma มาประยุกต์ใช้ เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการโดยใช้เครื่องวิเคราะห์เคมีอัตโนมัติรุ่น Cobas 6000 วิเคราะห์สารควบคุมคุณภาพ 2 ระดับ แต่ละระดับวิเคราะห์สารชีวเคมี 22 รายการ พบว่าร้อยละ 40.91 ของรายการวิเคราะห์คุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ (Sigma metric ≥ 6 ) ได้แก่ ALP,  AST , creatinine, HDL, LDH, magnesium, potassium, triglyceride และ uric acid  อยู่ในระดับดีเยี่ยม (Sigma metric 5.0 – 5.9)  คิดเป็นร้อยละ 9.09 ได้แก่ ALT และ CK อยู่ในระดับดี (Sigma metric 4.0 – 4.9) ได้แก่ glucose,  phosphorus, total protein, total bilirubin และ calcium คิดเป็นร้อยละ 22.73 รายการวิเคราะห์ที่ Sigma <4 ได้แก่ ALB, chloride, cholesterol, LDL, sodium และ BUN คิดเป็นร้อยละ 27.27

สรุป : คุณภาพของการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสามารถดูได้จาก Laboratory performance  ซึ่งเป็นตัวชี้วัดคุณภาพอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการ ระบบคุณภาพที่ดีจะทำให้ผลการวิเคราะห์มีคุณภาพ ผู้ป่วยและแพทย์ได้รับผลการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด ลดความเสี่ยงต่อการรายงานผลการวิเคราะห์ผิดพลาด ช่วยลดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการทำ quality control ของห้องปฏิบัติการ อีกทั้งทราบถึง analytical performance ที่ให้บริการเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาการวิเคราะห์ให้ดียิ่งขึ้น หรือรักษา performance ให้อยู่ในระดับที่ดีเยี่ยมต่อไป

References

Farr AJ, Freeman KP, Quality control validation, application of sigma metrics, and performance comparison between two biochemistry analyzers in a commercial veterinary laboratory. J Vet Diagn Invest. 2008 ; 20 : 536 – 44.

นวพรรณ จารุรักษ์, ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน. การควบคุมคุณภาพวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการคลินิก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว, 2548.

นวพรรณ จารุรักษ์, การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ด้วยกฎหลายกฎ: ระดับเบื้องต้น. สมุทรปราการ: บริษัท แอล. ที. อาร์ต พริ้นติ้ง จำกัด. 2551.

Westgard JO. Six Sigma Design and Control: Desirable Precision and Requisite QC for Laboratory Measurement Process.Madison, WI:Westgard QC;2000.

วรรณา เพ่งเรืองโรจน์ชัย, การประยุกต์ใช้ Six Sigma เพื่อการประเมินและควบคุมคุณภาพวิธีวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่ให้บริการงานประจำ,ว.เทคนิคการแพทย์. 2551 ; 36 : 2305 - 29.

นวพรรณ จารุรักษ์, Principle of validation for new technique, ว.โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์ บริการโลหิต. 2554 ; 21(2) : 69 -72.

ศรันภัสร์ ขามงามเดชาวัฒน์ และพิไลวรรณ ศิริพฤกษ์พงษ์, ประสิทธิภาพของ QC procedure ที่ได้จากการใช้ OPSpec chart และ sigma metric QC Planning tool, ว.เทคนิคการแพทย์. 2556 ; 41(2) : 4548 – 63.

Nevalainen D, Berte L, Kraft C, Leigh E, Morgan T.Evaluating Laboratory Performance on Quality Indicators With the Six Sigma Scale. Arch Pathol Lab Med. 2000; 124: 516-9.

กาญจนา กิจบูรณะ, การวางแผนควบคุมคุณภาพเพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์, ว.เทคนิคการแพทย์. 2556 ; 41(2) : 4576 - 87.

ยุพาพิน อ้นทอง, เบญจวรรณ รุ่งเรือง และพลากร พุทธรักษ์, การประเมินประสิทธิภาพและการ วางแผนควบคุมคุณภาพของเครื่องตรวจวิเคราะห์นับเซลล์เม็ดเลือด โดยใช้ Sigma metric ในห้องปฏิบัติการหน่วยโลหิตวิทยา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2559 ; 24(4) : 661 - 72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2022