ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ได้แก่ ความพึงพอใจในชีวิต ความพึงพอใจในงาน และอารมณ์ต่อการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แห่งละ 1 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติหาความแตกต่าง และความสัมพันธ์
ผลการศึกษา : พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 105 คน (79.5%) อายุ 40-49 ปีเป็นส่วนใหญ่ 55 คน (41.7%) สถานภาพสมรสอยู่ร่วมกัน 82 คน (62.1%) การศึกษาส่วนใหญ่จบปริญญาตรี 114 คน (86.4%) รายได้เฉลี่ย 20,001-30,000 บาท 46 คน (34.8%) ระยะเวลาทำงาน 10-20 ปี เป็นส่วนใหญ่ 52 (39.4) อยู่ในสายงานวิชาชีพพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ 71 คน (53.8%) เป็นข้าราชการ 123 คน (93.2%) บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคือ การได้รับการยอมรับนับถือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ลักษณะงาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และขวัญและกำลังใจในการทำงาน และบุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคือ ความพึงพอใจในงาน ความพึงพอใจในชีวิต และมิติอารมณ์ต่อการปฏิบัติงาน และพบว่า สถานภาพ สายงานที่ปฏิบัติ ความคิดเห็นด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน ลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือที่แตกต่างกันมีผลต่อความสุขในการทำงานแตกต่างกัน ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาทำงาน ประเภทบุคลากร ความคิดเห็นด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ขวัญและกำลังใจในการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ได้แก่ สัมพันธภาพในที่ทำงาน ลักษณะงานสภาพแวดล้อมในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01
สรุป : จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานนั้น มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อความสุขในการทำงานที่เกิดกับบุคลากร เมื่อปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น จะสร้างให้เกิดความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการกำหนดนโยบายสนับสนุนให้เกิดความสุขในการทำงาน ต้องหาวิธีการในการเสริมปัจจัยดังกล่าวให้กับบุคลากรเพื่อให้เกิดความสุขในการทำงาน
References
บัณฑิตา คำโฮม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์. อุบลราชธานี. 2556.
กัลยารัตน์ อ๋องคณา. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การับรู้คุณค่าในตนสภาพแวดล้อมในงาน กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ พย.ม.กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย. 2549.
นันทรัตน์ อุ่ยประเสริฐ. ความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทเฟิสท์ดรักจำกัด เชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2552.
นภดล กรรณิกา. ประเมินความสุขของคนทำงานกรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร.[ออนไลน์]; 2551 แหล่งที่มา: http://www.ryt9.com/s/abcp/416085, (4 พฤศจิกายน 2560).
Maslow, Abraham. Motivation and Personality. 2nded. New York: Harper and Row. 1970.
Diener& Myers. (2013). Factors Predicting the Subjective Well-being of Nation. Journal of Personality and Social Psycholog. 2013; 69:851-864.
กรัณฑ์รัตน์ ถาวรประเสริฐ.ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร.[ออนไลน์]; 2552 แหล่งที่มา: http://www.rc.nida.ac.th/th/attachments/article/213(4 พฤศจิกายน 2560).
บุญเทือง โพธิ์เจริญ. ความสุขที่คุณสร้างได้. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ฐานบุ๊ค.2551.
นภัชชล รอดเที่ยง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วท.ม. (อนามัยครอบครัว). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว