ผลของการใช้โปรแกรมชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช สาขาเทศบาลตำบลทาศาลา

ผู้แต่ง

  • รัญชนา หอมสุวรรณ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

โปรแกรมชะลอไตเสื่อม, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ผลของการใช้โปรแกรมชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช สาขาเทศบาลตำบลทาศาลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม และผลลัพธ์ทางคลินิก ของผู้ป่วยเบาหวาน ก่อนและหลังได้รับ โปรแกรมชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวาน

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว คือ  ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่ามีภาวะไตเสื่อมอยู่ในระยะที่ 2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติได้แก่ อายุตั้งแต่ 40 ถึง 70 ปี ไม่มีโรคประจำตัวหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีอัตราการกรองของไต (GFR) 60-89 ml/Min/1.73m2 และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมครบตามนัด 3 ครั้ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 82 คน โปรแกรมประกอบด้วย สื่อที่ใช้ในการให้ความรู้จากการพัฒนา และกิจกรรม 4 ขั้นตอน ดำเนินการ 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เรื่องภาวะไตเสื่อม และโรคเบาหวาน  พฤติกรรมเพื่อชะลอไตเสื่อม และแบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ ได้ค่า CVI = 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติความแตกต่างโดยใช้ dependent t-test

ผลการศึกษา: ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน หลังได้รับโปรแกรมชะลอไตเสื่อม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (31.80 +2.92, 37.54+0.65) พฤติกรรมเพื่อชะลอไตเสื่อม (35.65 + 0.49, 38.42 S.D.+ 0.34) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.04 ตามลำดับ ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก ระดับน้ำตาลในเลือด (117.27 + 4.20, 107.83 + 2.24) ค่า Creatinine (0.89 + 0.02 , 0.71 + 0.02)  และอัตราการกรองของไต (76.92 + 0.93, 83.73 + 1.53) หลังได้รับโปรแกรมชะลอไต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0

สรุป  อภิปรายผล: จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวาน มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องภาวะไตเสื่อม และโรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอไตเสื่อม ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น

References

รสสุคนธ์ วาริทสกุล. การจัดการอาหารเพื่อชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน. วารสารพยาบาลทหารบก, 2557;15(1):22-8.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2555.

Coresh J, Selvin E, Stevens LA, Manzi J, Kusek JW, Eggers P, Van Lente F, Levey AS. Et al. Prevalence of chronic kidney disease in the United States. JAMA 2007; Nov 7:298(17): 2038-47.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2556: Public Health Statistics 2013. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2557.

สุนิสา สีผม. การจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลสภากาชาดไทย, 2556; 6(1): 12-8.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด, 2555.

ประณีต สิงห์ทอง. โปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรกลุ่มป่วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารสุขศึกษา, 2557; 37(126): 35-48.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้, 2557.

มณีรัตน์ จิรัปปภา. การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 2557; 20(2): 5-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2022