ฉากกำบังรังสีต้นทุนต่ำสำหรับใช้ป้องกันอันตรายจากรังสี
คำสำคัญ:
ฉากกำบังรังสี, การป้องกันอันตรายจากรังสี, เอกซเรย์บทคัดย่อ
จากการที่กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีการให้บริการถ่ายภาพรังสีตามหอผู้ป่วยต่างๆทุกวันซึ่งไม่สามารถป้องกันรังสีกระเจิงได้ดีเหมือนที่ห้องเอกซเรย์ โดยมีสถิติจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 350 รายต่อเดือน เมื่อแยกตามอวัยวะที่ถ่ายพบว่ามีการถ่ายภาพรังสีของทรวงอก มากที่สุด รองลงมาคือการถ่ายบริเวณส่วนช่องท้อง ตามลำดับ จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้สร้างฉากกำบังรังสีเพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากรังสี และเป็นการลดค่าใช้จ่ายจากการจัดซื้อฉากตะกั่วที่มีราคาขายทั่วไปอยู่ระหว่าง40,000-50,000 บาทสำหรับการสร้างฉากกำบังรังสีครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 6,000 บาท ซึ่งจากผลการวัดปริมาณรังสีกระเจิง ของการถ่ายภาพรังสีทรวงอกและช่องท้อง เมื่อมีฉากกำบังรังสีต้นทุนต่ำสำหรับใช้ป้องกันอันตรายจากรังสี พบว่ามีปริมาณ รังสีกระเจิง 0.30 mR/hr และ 0.37 mR/hr ตามลำดับ ซึ่งมาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย ปี 2558 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ว่า ปริมาณรังสีกระเจิงที่วัดได้ไม่ควรเกิน 0.5 mR/hr ดังนั้นฉากกำบังรังสีที่สร้างขึ้นสามารถใช้ป้องกันอันตรายจากรังสี เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการลดทอนรังสีของฉากกำบังรังสีเมื่อถ่ายภาพรังสีทรวงอกและช่องท้อง พบว่า ฉากกำบังรังสีสามารถลดทอนปริมาณรังสีลงได้คิดเป็นสัดส่วน 21.77 และ 31.81 เท่า ตามลำดับ จากผลงานวิจัยครั้งนี้โรงพยาบาลสิงห์บุรีสามารถนำไปสร้างฉากกำบังรังสีให้มีใช้งานตามหอผู้ป่วยครบทุกแห่งในลำดับต่อไป
References
มาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.2558.
ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.
อัมพรฝันเซียน. อันตรายจากรังสีและการควบคุม. ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2547; 25-28.
วลัยพรพันธ์กล้า, อังคณา เหลืองนทีเทพ, ฐิติมาชินะโชติ, มุกดา จงเจริญธนาวัฒน์, นันทิยา แพทยานันท์. การประเมินคุณภาพเครื่องแต่งตัวป้องกันรังสีในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศิริราช. วิสัญญีสาร. 2009; 35(3): 198-203.
สุริยาพร โจไธสง ,สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ. อิฐกันรังสี.วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 2551; 41(2): 79-88.
Suhaib Alameen , Siddig Khalid , Wadah Ali & Mamdouh Y. Osman. Shielding Evaluation of Diagnostic X-Ray Rooms in Khartoum State. Global Journal of Health Science; Vol. 9, No. 7; 2017.
Petrantonaki, M., Kappas, C., Efstathopoulos, E. P. et al. Calculating shielding requirements in diagnostic X-ray departments. Br J Radiol, 1999; (72) : 179-85.
National Council on Radiation Protection and Measurements. Structural shielding design for medical X.ray imaging facilities. NCRP Report No.147. Bethesda MD, NCRP. Ref Type: Report. 2004.
IAEA. International Basic safety Standards for Radiation Protection against Ionizing radiation and for the Safety of radiation sources. IAEA Safety Series. 1996; 115.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว