บทบาทของวิสัญญีพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหุ่นยนต์

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา ดวงเงิน -

คำสำคัญ:

บทบาทของวิสัญญีพยาบาล, การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว, การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหุ่นยนต์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความทันสมัยมากขึ้น จึงมีการประยุกต์และพัฒนานำหุ่นยนต์มาช่วยในการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ข้อมูลสถิติในโรงพยาบาลรามาธิบดีพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากสูงเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มโรคมะเร็งในเพศชาย จึงมีการริเริ่มพัฒนาการรักษาพยาบาลด้วยการนำหุ่นยนต์มาช่วยในการผ่าตัดมะเร็ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 ทำให้ลดระยะเวลาในการผ่าตัด ลดอัตราการสูญเสียเลือดและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้สามารถลดความเสี่ยงของเส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้ลดผลกระทบต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้และยังคงมีสมรรถภาพทางเพศได้เช่นเดิม จึงเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีหลังผ่าตัดให้กับผู้ป่วย

             เทคนิคการระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านหน้าท้องโดยการใช้หุ่นยนต์ช่วย เป็นสิ่งที่วิสัญญีพยาบาลต้องมีความรู้และทำความเข้าใจในบริบทของการดูแลผู้ป่วยในระหว่างการผ่าตัด  เนื่องจากอุปกรณ์การผ่าตัดมีขนาดใหญ่ทำให้การเข้าถึงในการดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างจำกัดและในระหว่างการผ่าตัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานของอวัยวะสำคัญหลายระบบ การเตรียมผู้ป่วย การวางแผนและการติดตามเฝ้าระวังจึงมีความสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดและการระงับความรู้สึก

References

สมพล เพิ่มพงศ์โกศล. สถิติผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก [ออนไลน์]; 2560 [เข้าถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2560]. แหล่งที่มา:http://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/news/event/15062016-1529-th/.

สุริธร สุนทรพันธ์. มะเร็งต่อมลูกหมาก. ใน: พิษณุ มหาวงศ์, สุริธร สุนทรพันธ์, บรรณาธิการ. โรคที่พบบ่อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์. 2558 ; 163-77.

Lee JR. Anesthetic considerations for robotic surgery.Korean J Anesthesiol. 2014 ; 66 (1) : 3-11.

พรฤดี นราสงค์, ปิยธิดา ตรีเดช, วงเดือน ปั่นดี, ไชยยงค์ นวลยง.คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีหุ่นยนต์โรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศิริราช. 2554 ; 4(1) : 43-55.

ศักดิ์ดา อำนวยเดชกร. การระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัดด้วยแขนกล. ใน: สมพล เพิ่มพงศ์โกศล, บรรณาธิการ. ตำราการผ่าตัดแบบมีความรุนแรงน้อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. 2556 ; 639-44.

สมพล เพิ่มพงศ์โกศล. การผ่าตัดผ่านกล้องนำมะเร็งต่อมลูกหมากออก. ใน: สมพล เพิ่มพงศ์โกศล, บรรณาธิการ. ตำราการผ่าตัดแบบมีความรุนแรงน้อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. 2556 ; 561-81.

สมพล เพิ่มพงศ์โกศล. ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดผ่านกล้องศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. ใน: สมพล เพิ่มพงศ์โกศล, บรรณาธิการ. ตำราการผ่าตัดแบบมีความรุนแรงน้อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. 2556 ; 205-22.

Awad H, Walker CM, Shaikh M, Dimitrova GT, Abaza R, O'Hara J. Anesthetic considerations for robotic prostatectomy: a review of the literature. J Clin Anesth. 2012 ; 24(6 ) : 494-504.

วิสูตร คงเจริญสมบัติ. การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์คืออะไร [ออนไลน์]; 2560 [เข้าถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2560]. แหล่งที่มา: http://www.prostate-rama.com/reading_detail.php?cid=64.7/.

วัชริน สินธวานนท์. การประเมินและการเตรียมผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก.ใน: ปวีณา บุญบูรพงษ์, อรนุช เกี่ยวข้อง, เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์, บรรณาธิการ. วิสัญญีวิทยาขั้นต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550 ; 1-15.

สุวรรณา ชั้นประดับ, สัณฐิติ โมรากุล. วิสัญญีวิทยาในการผ่าตัดแบบมีความรุนแรงน้อย. ใน: สมพล เพิ่มพงศ์โกศล, บรรณาธิการ. ตำราการผ่าตัดแบบมีความรุนแรงน้อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. 2556 ; 135-58.

ธันต์ชนก วนสุวรรณกุล. การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดส่องกล้อง. ใน: วิรัตน์ วศินวงศ์,ธวัช ชาญชญานนท์, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยาคลินิก. สงขลา: หน่วยผลิตตำราคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2555 ; 307-20.

นลินี โกวิทวนาวงษ์. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. ใน: วิรัตน์ วศินวงศ์, ธวัช ชาญชญานนท์, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยาคลินิก. สงขลา: หน่วยผลิตตำราคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2555 ; 439-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2022