การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะคีโตอะซิโดซิส : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
เบาหวาน, คีโตอะซิโดซิสบทคัดย่อ
ผู้ป่วยเด็กชายไทยอายุ 13 ปี ไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 โดยรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน ด้วยอาการผู้ป่วยซึมลง จนไม่รู้สึกตัว ภายหลังใส่ท่อหลอดลมคอและต่อเครื่องช่วยหายใจ ยังมีอาการแสดงของภาวะหายใจล้มเหลว จึงส่งตัวมา ในระหว่างรอส่งตัวได้ประสานให้เจาะ DTX ผล high จึงวินิจฉัยว่าเด็กเป็นเบาหวานและมีภาวะ คีโตอะซิโดซิส แรกรับผู้ป่วยมีภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนจากกรดคั่งในร่างกาย ร่วมกับมีความ ไม่สมดุลของเกลือแร่ เนื่องจากขาดอินซูลิน ได้ดูแลผู้ป่วยขณะใช้เครื่องช่วยหายใจตามมาตรฐาน บริหารยา ให้ผู้ป่วยได้รับอินซูลินทางหลอดเลือดดำอย่างถูกต้อง และประเมินระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงต่อการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ต่อมาผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัวดี สัญญาณชีพคงที่ จึงหย่าเครื่องช่วยหายใจจนสำเร็จ ในระยะฟื้นฟูสภาพวางแผนจำหน่ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพและครอบครัวมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว วางแผนการพยาบาลโดยเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้ ภายหลังการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสามารถจำหน่ายกลับบ้านในวันที่ 11 มีนาคม 2560 รวมระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล 11 วัน
ในการดูแลผู้ป่วยรายนี้ พยาบาลต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการประเมินภาวะคีโตนคั่ง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวโดยไม่มีปัญหาระบบหายใจมาก่อน การเจาะ DTX เป็นสิ่งที่ควรกระทำ นอกจากนี้พยาบาลต้องมีสมรรถนะในการให้ความรู้เรื่องโรค การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ป่วยเด็กและครอบครัว เพื่อการปรับตัวกับโรค การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการดูแลตนเอง การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อการดูแลและติดตามประเมินผลภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมของตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
รัตนา นิยมชาติ. การพยาบาลผู้ป่วย IDDM. ใน : บงกช ผาสุกดีและคณะ (บรรณาธิการ). การพยาบาลโรคเด็ก. หลักสูตรการพยาบาลโรคเด็ก 2549. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. 2549 ; 11-39.
ปัญจางค์ สุขเจริญ. การดูแลเด็กโรคเบาหวาน. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์. คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สถาบันการพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน, 2538.
ภาวนา กีรติยุตวงศ์. การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน : มโนมติสำคัญสำหรับการดูแล. คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี : พี.เพรส จำกัด. 2546.
ดุสิต สถาวร, ชิษณุ พันธุ์เจริญ และอุษา ทิสยากร. Critical Advances in Pediatric. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. 2550.
ธาริณี เบญจวัฒนานันท์. และคณะ. Critical Care in Pediatrics for Nurses. โรงพยาบาลกรุงเทพ. กรุงเทพฯ : Quick Print. 2544.
สุวดี ศรีเลณวัฒน์. จิตวิทยากับการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. 2534.
สุพิน ศรีอัษฎาพร. Endocrine and Metabolic Emergency in ICU ใน สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์และสุชัย เจริญรัตนกุล (บรรณาธิการ). เวชบำบัดวิกฤติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ฮั๋วน้ำ พริ้นติ้ง จำกัด.2543 ; 510-20.
Lois, K.B., Beth, A., & Kathy, V.G. Plans of care fore specialty practice : Inpatient Pediatric Nursing. Washington : An international Thompson Publishing Company.1995.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว