สาเหตุและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่มาติดตามการรักษา ของผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • ดรุณี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์, การไม่มาติดตามการรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาสาเหตุ โอกาส และปัจจัยทำนายการไม่มาติดตามการรักษาของผู้ป่วยติดเชื้อ   เอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่คลินิกให้คำปรึกษาและยาต้านไวรัสเอดส์ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 จำนวน 178 ราย โดยศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางคลินิกและ ปัจจัยทางสังคมและครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษา 178 คน มีผู้ไม่มาติดตามการรักษาจำนวน 37 คน (ร้อยละ 20.78) ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 29 คน (ร้อยละ 78.38) มีอายุเฉลี่ย 55.17 ปี เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน  24 คน (ร้อยละ 64.86) โดยพบว่าสาเหตุหลักการไม่มาติดตามการรักษา 3 อันดับแรก ได้แก่ กลัวขาดรายได้ คิดว่าสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว และทำงานต่างถิ่นไม่สะดวกมารับบริการ จำนวน 9 คน (ร้อยละ 24.32), 7 คน (ร้อยละ 18.92) และ 5 คน (ร้อยละ 13.51) ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่มาติดตามการรักษาของผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ พบว่าเป็นผู้ป่วยรายใหม่ มีการศึกษาต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษา มีระยะเวลาการรักษาน้อยกว่า 5 ปี มี CD4 มากกว่า 300 cells/mm3และมีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เป็นปัจจัยที่ร่วมทำนายการไม่มาติดตามการรักษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p ≤ 0.01 ซึ่งปัจจัยที่มีผลมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ และมี CD4 มากกว่า 300 cells/mm3ตามลำดับ โดยผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน จะมีโอกาสไม่มาติดตามการรักษาสูงกว่าผู้ที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน 4.66 เท่า (95% C.I., 1.18-18.34)

สรุป อภิปรายผล: จากผลการศึกษาควรให้ความสำคัญและจัดตารางการมาติดตามการรักษาที่เอื้อต่อข้อจำกัดทางสังคมและเศรฐกิจของผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์ แต่ละคน รวมถึงจัดให้มีระบบการให้ความรู้ ติดตามและให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอตลอดการรักษา

References

กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ; 2557.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ; 2561.

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: หจก.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2558.

กรมควบคุมโรค สำนักระบาด. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2559. (ออนไลน์). จาก http://www.boe.moph.go.th/files/report/20141128_61345755.pdf. 2557.ค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561.

ธิดาพร จิรวัฒนไพศาล. ผลการใช้เครื่องมือวัดการรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในประเทศไทย. วารสารโรคเอดส์. 2550; 3 : 141-154.

นงนุช อุ่นใจ. การดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่ดื้อยาเนื่องจากการรักษาไม่สม่ำเสมอ โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน ; 2559.

Rosen S, Fox MP, Gill CJ. Patient Retention in Antiretroviral therapy Programs in Sub-Saharan Africa: A Systematic Review. PloS Medicine. 2007; 4: 1691-1701.

งานสถิติโรคเอดส์โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. สถิติโรคเอดส์ประจำปี พ.ศ.2557-2559.โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ; 2560.

Kranzer K, Zeinecker J, Ginsberg P, et al. Linkage to HIV care and antiretroviral therapy in Cape Town, South Africa. PloS One. 2010; 5(11): 1019-23.

Elena Losina,Ingrid V. Bassett, Janet Giddy, et al. The “ART”of Linkage: Pre- Treatment Loss to Care after HIV Diagnosis at Two PEPFAR Sites in Durban, South Africa, Malawi. Bull World Health Organ. 2007; 85: 550-554.

Wools-Kaloustian K, Kimaiyo S, Diero L, et al. Vaiability and effectiveness of large-scale HIV treatment initiatives in sub-Saharan Africa: experience from western Kenya. AIDS. 2006; 20: 41-48.

Zachariah R, Teck R, Buhendwa L, et al. Community support is associated with better antiretroviral treatment outcomes in a re source- limited rural district in Malawi. Trans R Soc Trop Med Hyg. 2007; 101: 79-84.

Dalal RP, Macphail C, Mqhayi M, et al. Characteristics and outcomes of adult patients lost to follow-up at an antiretroviral treatment clinic in Johannesburg, South Africa.J Acquir Immune Defic Syndr. 2008; 47: 101-107.

Yu JK, Chen SC, Wang KY, et al. True outcomes for patients on antiretroviral therapy who are “lost to follow-up” in antiretroviral therapy programs in Africa through a sampling based approach. J Acquir Immune Defic Syndr.2010; 53:405-411.

Rice BD, Delpech VC, Chadborn TR. Lose to Follow-Up Among Adults Attending Human Immunodeficiency Virus Services in England, and Northern Ireland. Sex Trasm Dis. 2011; 38(8): 685-90.

Gever SM, Chadborn TR, Ibrahim F, et al. High rate of loss to clinical follow-up among African HIV- infected patients attending a London clinic: A rettospective analysis of a clinical cohort. J Int AIDS Soc. 2010; 13: 29.

อรดี โชติเสน, สุรเดช ประดิษฐบาทุกา และอารี ชีวเกษมสุข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร: สังกัดสำนักการแพทย์; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2022