ผลของการเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • พวงผกา คลายนาทร -
  • ดรุณา ชื่นธรรมการย์

คำสำคัญ:

การเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, ทฤษฎีความสามารถตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ที่มีคุณสมบัติตามกำหนด จำนวน 180 คน เข้าร่วมกิจกรรมครบ 6 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความเชื่อในความสามารถตนเอง การปฏิบัติ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired Sample t-test

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.8 อายุเฉลี่ย 46.15 ปี จบการศึกษา ร้อยละ 46.7 ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อในความสามารถตนเองในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.3 การบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.0 การออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.8 การควบคุมอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 41.6 การไม่สูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 43.9 การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 41.7 และพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. รวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.8 หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อในความสามารถตนเอง อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81.7 การบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 61.7 การควบคุมอารมณ์อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.3 การไม่สูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 92.8 การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81.7 พฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. รวม อยู่ในระดับสูงร้อยละ 90.6 ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อในความสามารถตนเอง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) ค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < 0.001 )

สรุปได้ว่า การเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในความสามารถตนเอง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปสู่กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานอื่นๆ ต่อไป

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. [ออนไลน์] สืบค้นจาก. 2559. http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease

กองสุขศึกษา. ระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มปกติ / เสี่ยง / ป่วย โรคเบาหวานในประเทศไทย : นโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) นนทบุรี : โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.2558.

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวาน. [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://hdcservice.Moph.go.th/hdc/reports/report.php. 2560.

Bandura, A. Self-efficacy Toward a unifying theory of behavior change Psychological Review, (1977a), 84, 2 : 191-215

Bandura, A. Self-efficacy Mechanism in Human Agency. American Psychologist, (1982) ; 37,2 : 122 – 147

สุวภัทร คำโตนด และคณะ การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจกรรมทางกายของสตรีที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารสุขศึกษา, 2556; 36(124) : 30-44.

สินีนารถ ทรัพย์ศิริ. โครงการชมรมรักษ์สุขภาพ (องค์กรไร้พุง) อำเภอบ้านหมี่. ลพบุรี : โรงพยาบาลบ้านหมี่.2559.

เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์ และคณะ. กระบวนการเสริมพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชน วัดบุรณาวาส. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 2554 ; 65-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2022