สาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ปองนุช บุญยไพศาลเจริญ -

คำสำคัญ:

อัตราการเสียชีวิต, ผู้ป่วยปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลสิงห์บุรีในช่วงปี 2558-2559 พบว่าโรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุอันดับ1ของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาหาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบโดยทำการศึกษาแบบRetrospective (case-control) study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่ได้รับรักษาที่โรงพยาบาลสิงห์บุรีในปี 2560 ทั้งหมด 433 คน เสียชีวิตจากปอดอักเสบ103 คน โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานและการรักษาในแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบหลายตัวแปรด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (OR adj) และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95(95%CI) นัยสำคัญทางสถิติ 0.050  

ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยปอดอักเสบที่เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ย 71.32 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 58.30 มีโรคประจำตัวร้อยละ 96.10 เข้าการรักษาหอผู้ป่วยหนักร้อยละ 31.10 มีโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 97.10 ระยะนอนรพ.เฉลี่ย 8.65 วัน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงเดี่ยวพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.050) ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อน แรกรับมีอุณหภูมิร่างกาย < 36 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต < 90/60 มิลลิเมตรปรอทอัตราการเต้นหัวใจ> 120 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ≥ 25 ครั้งต่อนาที ระดับความรู้สึกตัวGlasgow coma scale (GCS) < 8 จำนวนเม็ดเลือดขาว > 20,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร จำนวนเกร็ดเลือด < 100,000 ตัวต่อไมโครลิตร การทำงานของไต ค่าBUN ≥ 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และค่าครีเอตินิน > 1.40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับอัลบูมิน <2.50 กรัมต่อเดซิลิตร ภาพเอ็กซเรย์ปอดแบบ Alveolar infiltration และพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนร่วม (น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด/ปอดแฟบ/ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศหรือก้อนในปอด) มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดร่วม เป็นปอดอักเสบในโรงพยาบาลหรือปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจและการได้รับยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม

เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก(Odds ratio;95% confidence interval; p-value < 0.050) ปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ แรกรับมีอุณหภูมิร่างกาย<36 องศาเซลเซียส (OR 13.742 ;95% CI 1.508-125.276;p 0.020) GCS <8 (OR 10.991 ;95% CI 1.730-69.833;p 0.011) มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดร่วม (OR 7.012 ;95% CI 1.679-29.292; p0.008) และการได้รับยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม (OR 0.009 ;95% CI 0.001-0.068; p<0.001)

สรุปผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลเพิ่มอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกาย< 36 องศาเซลเซียส ระดับความรู้สึกตัว (GCS) <8 และมีการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดร่วมด้วย ส่วนปัจจัยที่มีผลลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยคือการได้รับยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข(Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health).สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558:Public Health StatistisA.D.2015 .กรุงเทพ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด,2559:79-145.

แสงอรุณ บุญศรี.สถิติสารสนเทสGIS:การเสียชีวิต จำแนกตามเพศและสาเหตุที่สำคัญปี พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต].สิงห์บุรี:สำนักงานสถิติจังหวัดสิงห์บุรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม;2560 [เข้าถึงเมื่อ 31พ.ค.2562] เข้าถึงได้จากhttp://164.115.26.119/singburi.nso/component/page-929-section-44-catagory-246.

คณะกรรมการสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยอายุรกรรม.รายงานการเสียชีวิตผู้ป่วยโรงพยาบาลสิงห์บุรี.การประชุมคณะทำงานการดูแลผู้ป่วยอายุรกรรม(PCT med); 2559 มิถุนายน; โรงพยาบาลสิงห์บุรี.สิงห์บุรี; 2559

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนในประเทศไทย (สำหรับผู้ใหญ่).กรุงเทพ: เอสพีการพิมพ์, 2544.

สมาคมอุรเวชช์สมาคมโรคติดเชื้อ และสมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. ร่างแนวเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่ เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทย.กรุงเทพ;2549.

วิภา รีชัยพิชิตกุล (2558). การรักษาโรคปอดบวม.วารสารอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,1(4),17-29.

Mandell LA, Wunderink RG, Anzueto A, et al.Infectious Diseases Society of America/American Thoracic Society consensus guidelines on themanagement of community-acquired pneumonia in adults. Clin Infect Dis 2007; 44 Suppl 2: S27-72.

Lim WS, Baudouin SV, George RC, et al. British Thoracic Society guidelines for the management of community acquired pneumonia in adults: update 2009. Thorax 2009; 64 (Suppl 3): iii1-55.

Ronan D, Nathwani D, Davey P, Barlow G. Predicting mortality in patients with community acquired pneumonia and low CURB-65 scores.Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2010; 29: 1117-24

Charles PG, Wolfe R, Whitby M, et al. SMARTCOP: a tool for predicting the need for intensive respiratory or vasopressor support in community acquired pneumonia. Clin Infect Dis 2008; 47:375-84.

C. Garcia-Vidal, N. Ferna ´ndez-Sabe, J. Carratala, et al.Early mortality in patients with community acquired pneumonia: causes and risk factors.Eur Respir J 2008; 32: 733–39

Kollef MH, Sherman G, Ward S, Fraser VJ. Inadequate antimicrobial treatment of infections: a risk factor for hospital mortality among critically ill patients. Chest 1999;115:462–74.

Pereira JM, Paiva JA, Rello J. Severe sepsis in community-acquired pneumonia: early recognition and treatment. Eur J Intern Med 2012; 23: 412-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022