ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อการรับรู้การเจ็บป่วยและการจัดการอาการ ภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • ผาสุก มั่นคง -

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้, การรับรู้การเจ็บป่วย, การจัดการอาการภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อการรับรู้การเจ็บป่วย และการจัดการอาการภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ณ คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสิงห์บุรี ในระหว่างเดือน ธันวาคม 2561 ถึงเดือน มีนาคม 2562 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้จำนวน 1 ครั้งร่วมกับการพยาบาลปกติ โปรแกรมการให้ความรู้ประกอบด้วย คู่มือการให้ความรู้  เพื่อการรับรู้การเจ็บป่วยและการจัดการอาการภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 2) แบบสัมภาษณ์การรับรู้การเจ็บป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 3) แบบสัมภาษณ์การจัดการอาการภาวะฉุกเฉิน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  3 ท่าน และผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของคอนบราค (Cronbach,s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.82 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การเจ็บป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และการจัดการอาการภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ก่อนและหลังของกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติทีแบบไม่อิสระ และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การเจ็บป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และการจัดการอาการภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติทีอิสระ

ผลการวิจัยพบว่า  1. คะแนนเฉลี่ยการรับรู้การเจ็บป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และการจัดการอาการภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง (x = 98.97, SD = 8.31)  และ (x = 8.47, SD = 1.57) (p<0.05) สูงกว่า ก่อนทดลอง (x = 93.07, SD = 16.11) และ (x = 7.47, SD = .94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =-3.08, p<0.05) 2. คะแนนเฉลี่ยการรับรู้การเจ็บป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และการจัดการอาการภาวะฉุกเฉินโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง (x = 95.53, SD = 15.98) และ (x = 8.84, SD = 1.56) (p<0.05) สูงกว่า กลุ่มควบคุม (x = 89.90, SD = 8.62) และ (x = 7.53, SD = 1.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t =-3.13, p<0.05)

References

American Heart Association. Heart disease and stroke statistic-2012 update. Texas: American Heart Association. 2012.

เกรียงไกร เฮงรัศมีและกนกพร แจ่มสมบูรณ์. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: สุขขุมวิทการพิมพ์. 2555.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2554 – 2559. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ). 2559.

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลสิงห์บุรี. สถิติผู้ป่วยใน 2559 – 2561.

เบญจมาศ แสนแสง. การดูแลผู้ป่วยที่ตรวจสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ (PTCA). ในเพลินตา ศิริปการ, สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, กาญจนา สิมะจารึก, และชวนพิศ ทำนอง (บรรณาธิการ), การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะวิกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 187-211. 2551.

สุวีณา เบาะเปลี่ยน. บทบาทพยาบาลเพื่อลดการมารักษาล่าช้าของผู้ป่วย กลุ่มอาการหลอดเลือดหัวใจ เฉียบพลัน.วารสารพยาบาลทหารบก; 15:78-83. 2554.

อุดมรัตน์ ชโลธร, ทิพมาส ชิณวงศ์ และวิภา แซ่เซี้ย. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อการ รับรู้ทักษะ การจัดการอาการภาวะฉุกเฉินจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2556.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. Nursing research: Principle and Method (6th ed.). Philadelphia: Lippincott, P.P; 416-7. 1999.

Polit, D. F., & Beck, C. T. Nursing research: principles and methods. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. 2004.

Leventhal, H. The common sense model of illness representation: Theoretical and practical considerations. Social Distress and the Homeless, 5(1), 11-38. 1996.

Dracup, K., & Moser, D. K. Beyond sociodemographics: Factors influencing the decision to seek treatment for symptoms of acute myocardial infarction. Heart and Lung, 26, 253-252. 1997.

เป็น รักเกิด. การรับรู้การเจ็บป่วยกับการตอบสนองต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2550.

นิตยา พันธุเวทย์ และ หทัยชนก. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปี พ.ศ. 2558. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จากเว็บไซด์ http:/thained.com/information statistic non-communicable-disease-data. php. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2561.

ตาณิกา หลานวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเจ็บป่วยที่เน้นการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและความสามารถด้านร่างกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหลังได้รับการรักษาด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ. พยาบาลศาสตรมหาบัณทิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022