การพัฒนาระบบยา ของงานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • สรวิศ โพธิกิจ -

คำสำคัญ:

ระบบยา, งานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบยาที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านหมี่ วิธีดำเนินการเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาย้อนหลังผลการพัฒนาของห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก  ปีงบประมาณ 2561 โดยติดตามปัญหาที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบยา วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่สะท้อนการทำงานของระบบและประเมินผล ในประเด็น การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การติดตามความคลาดเคลื่อนทางยา การคัดกรองในสั่งยาเพื่อค้นหาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา การบริบาลเภสัชกรรมในคลินิกยาต้านไวรัส คลินิกจิตเวช และคลินิกวาร์ฟาริน พบว่า การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา พบ ADR type A 52 ราย  ADR type B 27 ราย กลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์สูงสุดคือ Antibiotics และมีอุบัติการณ์แพ้ยาซ้ำ 1 ราย  การศึกษาการติดตามความคลาดเคลื่อนทางยา พบว่าความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยา กระบวนการจัดยา  และการจ่ายยา ไม่เป็นไปตามเกณฑ์  การศึกษาการคัดกรองใบสั่งยาเพื่อค้นหาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา พบปัญหาที่ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามากที่สุด ร้อยละ 32.84 สำหรับการแก้ไขปัญหาหลังส่งปรึกษาแพทย์ พบว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาในการรักษาที่จำเป็น ได้รับการแก้ไขทุกราย การศึกษาการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกยาต้านไวรัส พบผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา ได้รับการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 77.78 และ 80 ตามลำดับ และในคลินิกจิตเวช ร้อยละ 83.13 และ 86.08 ตามลำดับ ในคลินิกวาร์ฟาริน พบว่า ร้อยละผู้ป่วยที่มีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมาย (2-3) ต่ำเพียงร้อยละ 34.97 และค่า %TTR ที่คำนวณได้ ร้อยละ 41.46 ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 65

แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาระบบยา สามารถบูรณาการได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ชนิดของปัญหา เช่น การขอความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ การทบทวนระบบ การจัดทำคู่มือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างนวตกรรม การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น

References

มังกร ประพันธ์วัฒนะ. การจัดการคุณภาพในองค์กรสุขภาพ. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์; 2557.

มังกร ประพันธ์วัฒนะ. ระบบยาเพื่อความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร : สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2553.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. Patient Safety Goals: SIMPLE. นนทบุรี : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2551.

มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี. นนทบุรี : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2551.

ฐิติกา ภูมิสุข, ศุภธิดา วัฒนพรหม, น้ำฝน ปุพพะธีราวณิชย์, จตุพร ทองอิ่ม. Evaluation of Patient Adherence in Ambulatory Clinic : Which Tools is Better? ใน : บุษบา จินดาวิจักษณ์, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, บรรณาธิการ. การเปลี่ยนแปลงของงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลเข้าสู่ยุค 4.0. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด; 2560 : 76-93.

จุรี อุทัยชลานนท์, อรรณพ หิรัญดิษฐ์. การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงลมหายใจสุดท้ายใน : บุษบา จินดาวิจักษณ์, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนฑล, ปรีชา มนทกานติกุล, บรรณาธิการ. ทศวรรษใหม่งานเภสัชกรรมโรงพยาบาล สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด; 2559 : 1-11.

มาโนช หล่อตระกูล. คู่มือการใช้ยาทางจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน; 2550.

สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ. คลินิกยาต้านการแข็งตัวของเลือด : หนึ่งทศวรรษของวิวัฒนาการและทิศทางในอนาคต ใน : บุษบา จินดาวิจักษณ์, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนฑล, ปรีชา มนทกานติกุล,บรรณาธิการ. ทศวรรษใหม่งานเภสัชกรรมโรงพยาบาล สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด; 2559 : 44-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022