ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วย ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วน, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนและเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มารับการรักษาแบบฉุกเฉิน ณ หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรีจำนวน 64 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี ที่มีประสบการณ์การทำงานที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป จำนวน 30 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการกำหนดช่วงเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติตามโปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และค่าเฉลี่ยที (paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ปฏิบัติตามโปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ในระดับมาก (ร้อยละ 76.67) มีความรู้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60) และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระดับมาก (ร้อยละ 80) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = -11.96, p = .001)
สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรมีการนำโปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมาใช้ในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง
References
วรกานต์ วิไลชนม์, สุรัตน์ ทองอยู่ และไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล. Septic Shock: Approach and Managementในวันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ และอภิรดี ศรีวิจิตรกมล (บรรณาธิการ). อายุรศาสตร์ทันยุค; 2552: 149-64.
Martin, G. S. Sepsis, severe sepsis and septic shock: changes in incidence, pathogens and outcomes. National Institute of Health. 2012; 10(6): 701-6.
Rezende, E., Silva Junior, J. M., Isola, A. M., Campos, E. V., Amendola, C. P., & Almeida, S. L. Epidemiology of Severe Sepsis in the Emergency Department and Difficulties in the Initial Assistance. Clinics, 2008; 64: 457-64.
Dellinger, R. P., Levy, M. M., Rhodes, A., Annane, D., Gerlach, H., Opal, S. M., Sevransky, E., Sprung, C. L., Douglas, I. S., Jaeschke, R., Osborn, T. M., Nunnally, M. E., Townsend, S. R., Reinhart, K., Kleinpell, R. M., Angus, D. C., Deutschman, C. S., Machado, F. R., Rubenfeld, G. D., Webb, S. A., Belae, R. J., Vincent, J. L., Moreno, R., & The Surviving Sepsis Campaign Guidelines Committee. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Severe Sepsis and Septic Shock. Critical Care Medicine. 2012; 41(2): 580-637.
Rivers, E., & Ahrens. Improving outcomes for Severe Sepsis and Septic Shock: Tools for Early Identification of at - Risk Patients and Treatment Protocol Implementation. Critical Care Clinics. 2008; 23: 1-47.
Zhang, Z., Hong, Y., Smischney, M. J., Kuo, H. P., Tsirigotis, P., et al. Early management of sepsis with emphasis on early goal directed therapy: AME evidence series 002. Journal of Thoracic Disease. 2017; 9(2): 392-405.
พรทิพย์ แสงสง่า และนงนุช เคี่ยมการ. ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรงทางคลินิกตามเกณฑ์ Sepsis bundles ในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการแพทย์เขต11. 2558; 29(3): 403-10.
กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, และพัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; 34(3): 222-36.
วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, จิราพร น้อมกุศล, รัตนา ทองแจ่ม และธนชัย พนาพุฒิ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2557; 32(2): 25-36.
ยุวดี เทียมสุวรรณ, อรชร มาลาหอม, ธีรนุช ยินดีสุข, ประภัสสร ควาญช้าง และนุสรา ประเสริฐศรี. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหนักที่ติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้การจัดการรายกรณีในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 25560; 35(1):184-93.
ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2560; 35(3): 224-31.
Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. Sanfrancisco, CA: Jossey-Bass.
Polit, D. F., & Beck, C. T. Nursing Research: Generating and assessing evidence for Nursing Practice ninth edition 2012.
อรอุมา ท้วมกลัด, พูลสุข เจนพานิชย์, และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. ความรู้ในการประเมินและการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2013; 20(2): 226-220.
อาภรณ์ นิยมพฤกษ์, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2013; 31(2): 14-24.
Yorkova, I., & Wolf, L. Under-triage as a significant factor affecting transfer time between the emergency department and the intensive care unit, Journal Emergency Nursing; 2011: 37(5), 491-96.
พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี และสุพัตรา กมลรัตน์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2018;36(1):207-15.
ทิฏฐิ ศรีวิสัย และวิมล อ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2017; 9(2): 152-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว