อุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วย เอช ไอ วี ที่ใช้ยา Tenofovir โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • ใกล้รุ่ง สุทธารักษ์ -

คำสำคัญ:

การเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยเอช ไอ วี, ยา Tenofovir

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไต การเปลี่ยนแปลงของระดับการทำงานของไตหลังจากใช้ยา Tenofovir เป็นระยะเวลา 2 ปี และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับการทำงานของไตในผู้ป่วยเอช ไอ วี ที่ใช้ยา Tenofovir โดยทำการศึกษาแบบย้อนหลังร่วมกับติดตามผู้ป่วยเพื่อเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในผู้ป่วยเอช ไอ วี ที่ใช้ยา Tenofovir ทุกราย มีผู้ป่วยผ่านเกณฑ์การศึกษาทั้งสิ้น 184 ราย การเกิดพิษต่อไตนิยามโดยผู้ป่วยมีการเพิ่มขึ้นของ Serum creatinine (Scr) ตั้งแต่ 1.5 เท่า หรือ การลดลงของ eGFR โดยมีการลดลงมากกว่าร้อยละ 25 จากค่าพื้นฐานของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หลังจากนั้นเก็บข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ ค่าสหสัมพันธ์ และความถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเพศชายและหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียง (1.27/1.0) มีอายุเฉลี่ย 41.38 ปี (19-81 ปี) น้ำหนักตัวพื้นฐานเฉลี่ย 58.12 กิโลกรัม (40-80 กิโลกรัม) ระยะเวลาการใช้ยาต้านไวรัสอื่นมาก่อนเฉลี่ย 33.95 เดือน (1-120 เดือน) โดยมีเหตุผลในการใช้ยาส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อลีบ (Lipodystrophy) จำนวน 68 ราย (36.95%) รองลงมา ดื้อยาจากกลุ่ม GOVIR S30 จำนวน 54 ราย (29.34%) มีการทำงานของไตลดลงตลอดทุกจุดการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) พบผู้ป่วยเกิดพิษต่อไตจำนวน 6 ราย (3.26%) ค่ามัธยฐานของระยะเวลาในการเกิดพิษต่อไตหลังจากใช้ยา Tenofovir เท่ากับ 6 เดือน เมื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับการทำงานของไตในผู้ป่วยเอช ไอ วี ที่ใช้ยา Tenofovir พบว่าปัจจัย เพศ อายุ ระยะเวลาการใช้ยาต้านไวรัสอื่น ระดับ Scr เริ่มตั้น มีผลต่อการลดลงของระดับการทำงานของไต ส่วนน้ำหนักตัวเป็นปัจจัยที่ช่วยชะลออัตราการเกิดพิษต่อไต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) เมื่อประเมินประสิทธิภาพในการรักษาก่อนและหลังใช้ยา Tenofovir จากจำนวน Viral load ไม่พบการดื้อยา

สรุป จากผลการศึกษา ยาต้านไวรัส Tenofovir ยังมีประสิทธิภาพที่ดีในการใช้รักษาผู้ป่วยเอช ไอ วี ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช พบอุบัติการณ์ของการเกิดพิษต่อไตน้อยแต่ยังจำเป็นต้องมีการติดตาม เฝ้าระวังการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย

References

Hammer SM, Eron JJ, Reiss P, Schooley R.T, Thompson MA, Walmsley S, etal. Antiretroviral treatment of adult HIV infection: 2008 recommendations of the International AIDS Society-USA panel. Jama 2008 ; 300(5) : 555-70.

กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

Gallant JE, Parish MA, Keruly JC, Moore RD. Changes in renal function associated with tenofovir disoproxil fumarate treatment, comparedwith nucleoside reverse-transcriptase inhibitor treatment. Clin Infect Dis 2005 ; 40(8) : 1194-8.

Harris M. Yip B, Zalunardo N. Increases in creatinine during therapy with tenefovir DF. In: Program and abstracts of the 2nd International AIDS Society Conference on HIV Pathogenesis inhibitor treatmemt. Clin Infect Dis 2005 ; 40 : 1194-8.

Zimmermann AE,Pizzoferrato T, Bedford J, Morris A, Hoffman R, Braden G. Tenofovir-associated acute and chronic kidney disease: a case of multiple drug interactions. Clin Infect Dis 2006 ; 42(2) : 283-90.

Karras A, Lafaurie M, Furco A, Bourgarit A, Droz D, Sereni D, et al. Tenofovir-related nephrotoxicity in human immunodeficiency virus-infected patients: three cases of renal failure, Fanconi syndrome, and nephrogenic diabetes insipidus. Clin Infect Dis 2003 ; 36(8) : 1070-3.

Coca S, Perazella MA. Rapid communication : acute renal failure associated withtenofovir : evidence of drug-induced nephrotoxicity. Am J Med Sci 2002 ; 324(6) : 342-4.

Perazella MA. Drug-induced renal failure: update on new medications andunique mechanisms of nephrotoxicity. Am J Med Sci 2003 ; 325(6) : 349-62.

Izzedine H, Hulot JS, Vittecoq D, Gallant JE, Staszewski S, Launay-Vacher V, et al. Long-term renal safety of tenofovir disoproxil fumarate in antiretroviral-naïve HIV-1-infected patients. Data from a double-blind randomized active-controlled multicentre study. Nephrol Dial Transplant 2005 ; 20(4) : 743-6.

Izzedine H, Launay-Vacher V, Deray G. Antiviral drug-induced nephrotoxicity. Am J Kidney Dis 2005 ; 45(5) : 804-17.

Del Palacio M, Romero S, & Casado J. L. Proximal tubular renal dysfunction or damage in HIV-infected patients. AIDS Rev 2012: 14(3) : 179-187.

Verhelst D, Monge, M, Meynard, J. L, Fouqueray B, Mougenot B, Girard P. M., Rossert J. Fanconi syndrome and renal failure induced by tenofovir: a first case report. Am J Kidney Dis 2002 ; 40(6) : 1331-3.

งานสถิติโรคเอดส์โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. สถิติโรคเอดส์ประจำปี พ.ศ.2559-2560 โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช, 2560.

Perazella M. A. Tenofovir-induced kidney disease: an acquired renal tubular mitochondriopathy. Kidney Int 2010 ; 78(11) : 1060-3.

Cassetti I, Madruga Jose Valaez R, Suleiman M A.H, Etzel Arnaldo, Zhong L, Cheng AK, et al. The safty and efficacy of tenofovir DF in combination with lamivudine and efavirenz through 6 years in antireoviral-naïve HIV-1-1 infected patients. HIV clin Trial 2007 ; 8(3) : 164-72.

Giordano M, Bonfanti P, De Socio GV, Carradori S, Grosso C, Marconi P, et al. Tenofovir renal safty in HIV-infected patients : Results from the SCOLTA Project. Biomedicine & Phamacotherapy 2008 ; 62 : 6-11.

Hall A. M, Hendry B. M, Nitsch D, & Connolly J. O. Tenofovir-associated kidney toxicity in HIV-infected patients : a review of the evidence. Am J Kidney Dis 2011 ; 57(5): 773-780.

Gupta, S. K. Tenofovir-associated Fanconi syndrome: review of the FDA adverse event reporting system. AIDS Patient Care STDS 2008 ; 22(2) : 99-103.

สุนีย์ ชยางศุ. ผลการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ติดตามเป็นเวลาสองปี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ 2560 ; 32(1) : 1-11.

เกศรินทร์ ชัยศิริ, จุรีรัตน์ บวรวัฒนนุวงศ์, นารัต เกษตรทัต และ ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกิจ. อุบัติการณ์ของการเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยติดเชื้อ เอช ไอ วี ที่ใช้ยาทีโนโฟเวียร์ ในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2553 ; 35(1) : 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022