ผลของโปรแกรมโภชนบำบัดในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรัง
คำสำคัญ:
โปรแกรมโภชนบำบัด, ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาของผลของโปรแกรมโภชนบำบัดในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรัง ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 32 คน ได้รับโปรแกรมโภชนบำบัดในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรัง จำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย การเข้าถึงเข้าใจเรื่องควบคุมอาหาร ทบทวนติดตามเป้าหมาย สร้างพลังใจและชื่นชมต้นแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ซึ่งตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ค่า .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Paired Sample t-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.2 มีอายุระหว่าง 32 -70 ปี อายุเฉลี่ย 57.5 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.569 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 87.5 ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษา ร้อยละ 50.0 หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมอาหารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยค่าดัชนีมวลกาย, ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรอบเอวและระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวน้อยกว่าก่อนการทดลอง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.79)
สรุปได้ว่า โปรแกรมโภชนบำบัดในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการควบคุมอาหารไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป
References
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการประเมินโรงพยาบาลด้านโภชนบำบัด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. นนทบุรี:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2558.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. และลดเสี่ยง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2556.
สง่า ดามาพงษ์. กินถูกสุขสง่า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พีเพิลมีเดีย จำกัด. 2555.
นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร และเดช เกตุฉ่า. การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียนมัธยมปีที่ 3 (ระยะที่ 1). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561, สืบค้นจาก http://www.hed.go.th_mod. 2554.
วรรณี นิธิยานันท์. อ้วนและอ้วนลงพุง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง จำกัด. 2554.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการจัดบริการสุขภาพ “กลุ่มวัยทำงาน”แบบบูรณาการ 2558. กรุงเทพมหารนคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2558.
นวลรัดดา ประเปรียว. ผลการให้ความรู้และการปรึกษาด้านโภชนาการต่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวออกกำลังกายและภาวะโภชนาการในผู้รับบริการภาวะอ้วนลงพุงที่โรงพยาบาลอำนาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น). 2555.
Werner, W.K. Hoeger and Sharon, A. Hoeger. Principles and Labs for Physical. 5thed. Victoria : Thomson Learning Inc. 2006.
Best, J. W. Research in Education. 3rded. New Jersey: Prentice hall Inc. 1977.
วชิราภรณ์ แสนสิงห์ และคณะ. ผลของโปรแกรมควบคุมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6. วารสารสุขศึกษา, 2556; 36(124), 76-88.
รุสนี วาอายีตา และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการลดน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2557;24(2): 90-104.
นวลนิตย์ ไชยเพชร และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(2): 45-62.
Bandura, A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychol. Rev. 1997; 84(2): 191-215.
สินีนาถ ทรัพย์ศิริ.โครงการรักษ์สุขภาพ (องค์กรไร้พุง) อำเภอบ้านหมี่. ลพบุรี: โรงพยาบาลบ้านหมี่. 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว