การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันบทคัดย่อ
กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผู้ป่วยชายไทยอายุ 70 ปี มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยและใจสั่นก่อนมาโรงพยาบาล 30 นาที Pain Score 6/10, EKG: ST elevate Lead II III AVF และ V3R, V4R แพทย์วินิจฉัย Inferior wall and Right Ventricle Acute STEMI ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโดยให้ยาละลายลิ่มเลือด หลังได้รับการดูแลรักษาและติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจนอาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์วินิจฉัยครั้งสุดท้าย Inferior wall and Right Ventricle Acute STEMI ผ่านพ้นภาวะวิกฤต อาการดีขึ้นตามลำดับ วินิจฉัยครั้งสุดท้าย Inferior wall and Right Ventricle Acute STEMI
ปัญหาการพยาบาลที่พบในผู้ป่วยรายนี้คือ เสี่ยงต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนขณะให้ยาละลายลิ่มเลือด เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอด ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เอง กลัวและวิตกกังวลจากความเจ็บป่วยที่รุนแรง ผู้ป่วยและญาติพร่องความรู้ ความเข้าใจการดูแลตนเองหลังกลับบ้าน
หลังจากให้การพยาบาลและการดูแลรักษาผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัยจากภาวะวิกฤต แพทย์ ส่งตัวไปรักษาต่อที่สถาบันโรคทรวงอกเพื่อทำการขยายหลอดเลือด ผู้ป่วยฟื้นจากการเจ็บป่วยเข้าสู่สภาวะปกติ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ รวมระยะเวลารักษาตัวโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช 1 วันและรักษาตัวที่สถาบันโรคทรวงอก 3 วัน
References
ลาวัลย์ เวทยาวงศ์ , ดาราวรรณ รองเมือง, จีราพร ทองดี, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, ผกามาศ รักชาติ และ อรุณศรี รัตนพรหม. ผลของโปรแกรมการสื่อสารเตือนภัยต่อความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือดและการจัดการอาการของประชาชน ต.ปากหมาก . วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้: สุราษฎร์ธานี ; 2560.
เกรียงไกร เฮงรัศมีและกนกพร แจ่มสมบูรณ์. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์ ; 2555.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. โรคหลอดเลือดหัวใจ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2562. /แหล่งสืบค้น http:// boe.moph.go.th
งานทะเบียนโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. สถิติผู้ป่วยปี พ.ศ. 2561. ลพบุรี : โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช; 2561.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. (พิมพ์ครั้งที่ 10) ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยาขอนแก่น ; 2556.
อรมณี ช้างชายวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล สถานที่ที่ผู้ป่วยอยู่ขณะเกิดอาการประสบการณ์เกี่ยวกับอาการ และระยะเวลาก่อนมารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว