การพยาบาลผู้ผ่าตัดคลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดและมีภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไป ในหลอดเลือด เนื่องจากรกเกาะต่ำแบบสมบูรณ์ร่วมกับมดลูกหดรัดตัวไม่ดี : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ภาวะตกเลือดหลังคลอด, รกเกาะต่ำแบบสมบูรณ์, ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด, มดลูกหดรัดตัวไม่ดีบทคัดย่อ
หญิงตั้งครรภ์ อายุ 25 ปี ครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ 36+ 6 สัปดาห์ การวินิจฉัยเบื้องต้น รกเกาะต่ำแบบสมบูรณ์ และได้รับการผ่าตัดคลอดครรภ์ก่อน มีประวัติเลือดออกมา 2 ครั้ง สูติแพทย์นัดผ่าตัด cesarean section เสียเลือดระหว่างผ่าตัด 700 cc. ทารกเพศชาย APGAR 9,10 น้ำหนัก 2910 กรัม หลังผ่าตัด cesarean section ผู้ป่วยเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด มีภาวะ DIC ร่วมด้วย ปัญหาทางการพยาบาลที่พบคือ เสี่ยงต่อการตกเลือดก่อนคลอด เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เกิดภาวะ shock & DIC ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางยาแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จึงรักษาด้วยการตัดมดลูก หลังผ่าตัดย้ายเข้า ICU ปัญหาทางการพยาบาลหลังการผ่าตัดมดลูก คือ เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เนื่องจากมีภาวะซีดจากการตกเลือดหลังคลอด เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด ผู้ป่วยไม่สุขสบายจากการปวดแผลผ่าตัด ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับ การย้ายเข้า ICU, โรคและอาการ, แผนการรักษา อาจเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่สุขสบายจากมีอาการท้องอืดเนื่องจากการทํางานของลําไส้ลดลงหลังได้รับการผ่าตัด ผู้ศึกษาได้ให้การพยาบาลโดยใช้ความรู้ ความชำนาญ ทักษะ และกระบวนการทางการพยาบาลจนผู้คลอดปลอดภัยทั้งมารดาและทารก สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ รวมอยู่โรงพยาบาลนาน 5 วัน นัดตรวจหลังคลอดอีก 5 สัปดาห์ จากการติดตาม มารดาและทารกแข็งแรง สมบูรณ์ดี มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
References
Carroll, M., Daly, D. and Begley, C.M.. The prevalence of women’s emotional and physical health problems following a postpartum hemorrhage: a systematic review. BMC Pregnancy and Childbirth. 2016.16(1): 261.
Briley, A., Seed, P.T., Tydeman, G., Ballard, H.,Waterstone, M., Sandall, J., et al. eporting errors, incidence and risk factors for postpartum hemorrhage (PPH) and progression to severe PPH: a prospective observational study. An international Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2014. 121(7): 876–888.
Michelet, D. , Ricbourg, A. , Rossignol, M. ,Schurando, P. and Barranger, E. .Emergency hysterectomy for lifethreatening postpartum hemorrhage: Risk factors and psychological impact. Gynecologic Obstetric and Fertilities. 2015. 43(12): 773-779.
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. การป้องกันการตกเลือดหลังคลอดใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด: บทบาทผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.2557.37(2): 155-162.
ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์ สุชาตา วิภวกานต์ และอารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการ ป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกใน ห้องคลอดโรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือ ข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้. 2559. 3(3):127-141.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว