การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกปลายขาซ้ายหักแบบมีแผลเปิดและได้รับการตัดขาบริเวณใต้เข่า ซ้ายร่วมกับกระดูกปลายขาซ้ายหักและการเกิดภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปราณี มีหาญพงษ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, กระดูกปลายขาหักแบบมีแผลเปิด, การตัดขาบริเวณใต้เข่า, ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง, กระดูกปลายขาหัก

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยชาย  อายุ 27 ปี เกิดอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ชนกับรถบรรทุก 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีแผลฉีกขาดอย่างรุนแรงลึกถึงกระดูกมีเลือดออกมากร่วมกับกระดูกหักลักษณะปลายขาเกือบขาดบริเวณเหนือข้อเท้าซ้าย และปลายขาขวา ปวดบวม ผิดรูป ขยับจะปวดมาก ไม่สลบ ไม่ปวดศีรษะ มีอาการเหงื่อออกตัวเย็น ผู้ประสบเหตุนำส่งโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยโรค  Open fracture both bone left leg  c- Closed fracture  both bone right leg  ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้เลือด ให้ยาปฏิชีวนะ ให้ออกซิเจนตั้งแต่ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และทำผ่าตัด Debridement และใส่ External fixation ตั้งแต่วันแรกรับ  กระดูกปลายขาขวาใส่ Long leg slab ไว้  ในวันต่อมามี Compartment  syndrome ที่กระดูกปลายขาขวา ได้รับการรักษาโดยทำผ่าตัด Fasciotomy  และใส่ External fixation ไว้ และภายหลังกระดูกปลายขาซ้าย แผลติดเชื้อมีเนื้อตายมาก ผ่าตัด Debridement แล้วไม่ดีขึ้น  จึงทำผ่าตัด Below knee  Amputation ปัญหาและการพยาบาลสำคัญ คือ เสี่ยงต่อภาวะช็อคเนื่องจากเสียเลือดบริเวณที่มีกระดูกปลายขาซ้ายหักแบบมีแผลเปิด,มีภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงที่กระดูกปลายขาขวา เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดมีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากถูกตัดขาซ้ายและความวิตกกังวลในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

พยาบาลมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีกระดูกหักแบบมีแผลเปิดร่วมกับมีภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและเร่งด่วนทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์  ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการประเมินอาการผู้ป่วยที่ถูกต้อง รวดเร็ว มีการเฝ้าระวังและให้การดูแลรักษาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีไม่ต้องถูกตัดปลายขาข้างขวาอีกข้าง หลังจากให้การพยาบาลและการดูแลรักษา ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยยอมรับความจริงที่จำเป็นต้องตัดปลายขาขวา ตอขาไม่บวมอยู่ในลักษณะที่พร้อมใส่ขาเทียม ต้นขาขวาใส่เหล็กดามกระดูกภายนอกไว้แผลแห้งดี ผู้ป่วยเคลื่อนไหว โดยใช้ Wheel  chair  แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้  ให้ยากลับไปรับประทานต่อที่บ้าน  ดูแลให้ได้รับสิทธิผู้พิการ นัดมาตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะ ๆ  รวมนอนโรงพยาบาลทั้งหมด 25 วัน

References

วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคออร์โธปิดิกส์. 6, editor. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส; 2561.

von Keudell AG, Weaver MJ, Appleton PT, Bae DS, Dyer GS, Heng M, et al. Diagnosis and treatment of acute extremity compartment syndrome. The Lancet. 2015;386(10000):1299-310.

Via AG, Oliva F, Spoliti M, Maffulli N. Acute compartment syndrome. Muscles Ligaments Tendons J. 2015;5(1):18.

อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, ทัตภณ พละไชย, ฉัตรชัย แป้งหอม, จุฑามาศ นุชพูล. ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์: บทบาทพยาบาลในการประเมินและการป้องกัน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;17(กันยายน - ธันวาคม ):17-24.

Verwiebe EG, Kanlic EM, Saller J, Abdelgawad A. Thigh compartment syndrome, presentation and complications. Bosn J Basic Med Sci. 2009;9 (Suppl 1):S28.

Walls MH. Compartment syndrome: an orthopedic emergency. Emerg Nurs J. 2017; 43(4):303-7.

หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย - หญิง. รายงานสถิติผู้ป่วยหอผู้ป่วยหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิง. 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022