การพยาบาลผู้ป่วย Hypoxic-ischemic encephalopathy (HIE): กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ทิวา สีม่วงอ่อน กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

Hypoxic-ischemic encephalopathy (HIE), Therapeutic-Hypothermia, การพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: Hypoxic-ischemic encephalopathy (HIE) เป็นภาวะการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่นำไปสู่อันตราย เช่น เลือดขาดออกซิเจน มีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง และภาวะกรดจากเมตาบอลิซึม หรือจากไม่มีการระบายอากาศที่ปอด ปริมาตรเลือดที่ผ่านปอดน้อยหรือมีไม่เพียงพอหลังจากการคลอด ส่งผลให้อวัยวะที่สำคัญขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่และเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะนั้นๆ และเกิดความพิการต่างๆทางสมอง ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงมาก และแม้รอดชีวิตก็อาจมีสภาพเป็นผู้พิการได้ รวมทั้งการรักษาด้วย Therapeutic-Hypothermia ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีจำกัดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเท่านั้น บทบาทสำคัญของพยาบาลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีทักษะ ความรู้ความชำนาญในการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลอย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีโอกาสฟื้นหายหรือลดภาวะความพิการลงได้

วิธีการศึกษา: คัดเลือกผู้ป่วย Hypoxic-ischemic encephalopathy (HIE) ที่ได้รับการส่งต่อมารักษาด้วย Therapeutic-Hypothermia 1 ราย ที่โรงพยาบาลสระบุรี ใช้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวม ในการประเมิน วางแผนการพยาบาล วินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาที่ดำเนินการ 6 เดือน (ตั้งแต่ ธันวาคม 2564 ถึง มิถุนายน 2565)

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทารกแรกเกิดเพศหญิง คลอดปกติไม่หายใจแพทย์วินิจฉัยเป็น Severe Birth Asphyxia ช่วยฟื้นคืนชีพ on ETT. แล้วส่งต่อมาจาก เพื่อรับการรักษาด้วย Therapeutic-Hypothermia Temp.tarket 33.5 oc. พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับการประสานส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวได้ดี สามารถหายใจเองได้มากขึ้น ลด mode ventilator ได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างรับการรักษา ส่งกลับไปรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลเดิมได้ ญาติเข้าใจปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลได้ดี จากการติดตามโทรศัพท์เยี่ยมผู้ป่วย 1 ครั้ง หลังส่งกลับไป 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยยังนอนพักใน NICU  อาการดีขึ้นตามลำดับ

สรุป: การใช้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับการประสานส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย มีโอกาสฟื้นหายหรือลดภาวะความพิการลงได้

References

ชญาศักดิ์ พิศวง,ปริศนา พานิชกุล,ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก ปีที่ 64: ฉบับที่ 3. กรกฎาคม-กันยายน 2554; [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtamedj.pmk. ac.th/Vol_64/64-3-4.pdf

ธีระ ทองสง,Birth Asphyxia. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/birth-asphyxia/

นงนุช สิระชัยนันท์,อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์ก้าวหน้า 6: Update and Practical Point in Pediatrics. พิมพ์ครั้ง ที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์: 2557.

แนวทางการดูแลรักษาพยาบาลทารกแรกเกิดขณะส่งต่อ เครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยทารกแรกเกิดเขต 1. [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2564].เข้าถึงได้จาก: http://www.nkp-hospital.go.th/th/ department/clmnn/EditCNPG/6.pdf

พิมลวัฒน์ ไทยธรรมยานนท์, สันติ ปุณณะหิตานนท์. ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย:การแก้ไขเบื้องต้น. พิมพ์ครั้ง ที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส: 2559.

ศิริพร สังขมาลย์,การรักษาด้วยการลดอุณหภูมิของร่างกายในผู้ป่วยเด็กหลังหัวใจหยุดเต้นเกิด (Therapeutic Hypothermia in children post Cardiac Arrest). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www. thaichildhealth.com/wp-content/uploads/2019/08/6.-Therapeutic-Hypothermia-in-children-post-Cardiac-Arrest-pdf.

สมบัติ มุ่งทวีพงษา,การรักษาด้วยการลดอุณหภูมิในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติทางสมอง.[อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2564].เข้าถึงได้จาก:http://www.bcn.ac.th/information/ Files/Attachfile/

สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ์, พรทิพา อิงคกุลบรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ สำหรับนักศึกษาแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติ เล่ม1. พิมพ์ครั้ง ที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น: 2559.

สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช: ประด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ เล่ม1. พิมพ์ครั้ง ที่ 1. กรุงเทพมหานคร:พี.เอ.ลีฟวิ่ง: 2559.

สุหรี หนุ่งอาหลี,การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน.[อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2564].เข้าถึงได้จาก: https://anyflip.com/bnmxu/faib/ba

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022