การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป เพื่อผ่าตัดเนื้องอกในสมอง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วิภารัตน์ จันทศรีคำ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลนครนายก

คำสำคัญ:

เนื้องอกสมอง, การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป, การพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: เนื้องอกสมองมีผลกระทบหลากหลาย เช่น ทำลาย กด เบียด เนื้อสมอง กดทับเส้นประสาทสมอง ทำให้เกิดสมองบวม (Brain edema) เกิดภาวะความดันในกระโหลกศีรษะเพิ่ม (Increased intracranial pressure) และภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus) เกิดการเคลื่อนตัวของสมอง (Brain herniation) เนื้องอกกดทับหลอดเลือด เกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง (Brain infraction) ทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบประสาท และอาจเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา การผ่าตัดเนื้องอกสมองเป็นชนิดของการผ่าตัดทางระบบประสาทส่วนสมองโดยเปิดกระโหลกศีรษะเป็นแผ่น (Craniotomy) เพื่อเป็นการรักษารอยโรคที่เป็นเนื้องอกสมองออก เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย วิสัญญีพยาบาลจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดเนื้องอกในสมองปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และสามารถฟื้นฟูกลับบ้านได้

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัดเนื้องอกในสมอง รายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง 1 ราย ที่ตึกศัลยกรรมชายโรงพยาบาลนครนายก

ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทย 53 ปี เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลนครนายกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ที่แผนกฉุกเฉิน รับ Refer จากโรงพยาบาลชุมชน ด้วยอาการพูดไม่ชัด แขนขาซ้ายอ่อนแรง ส่งตรวจ CT Scan พบ Brain Tumor อาการแรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี motor power แขนขาข้างขวา grade 5 แขนขาข้างซ้าย grade 4 สัญญาณชีพ 140/80 มิลลิเมตรปรอท อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที ชีพจร 80 ครั้ง/นาที ขนาดรูม่านตา 3 มิลลิเมตร ทั้ง2 ข้าง มีปฏิกิริยาต่อแสงทั้ง 2 ข้างรับรักษาไว้ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย แพทย์ตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษจากผลการตรวจแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคเนื้องอกในสมองแพทย์ให้การรักษาด้วยยากันชัก (Depakine 400 มิลลิกรัม vein ทุก 8 ชั่วโมง) 4 มีนาคม 2563 – 11 มีนาคม 2563 และยาลดสมองบวม (Dexa 4 มิลลิกรัม vein ทุก 6 ชั่วโมง) และวางแผนผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเอาเนื้องอกออก ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 (operative for Rt craniectomy with tumor &  insertion skull plate fixation) และการวินิจฉัยหลังผ่าตัดเป็น Brain tumor ศัลยแพทย์ทำผ่าตัด 6 ชั่วโมง 30 นาที เสียเลือดไปประมาณ 2,200 ml ให้สารน้ำ NSS 4000 ml ได้เลือดทดแทนจำนวน 2 unit ให้ Propofol 10 mg/ml Drip ควบคุมความดันโลหิตตลอดการผ่าตัด BP 80/60 – 140/80 mmHg ได้รับยา Inotrope คือ Levophedและ Ephedine Urine ออกประมาณ 100 ml/hrตรวจน้ำตาลได้ 151 mg% สิ้นสุดการผ่าตัดนำส่งผู้ป่วยไปหอผู้ป่วยหนักโดยไม่แก้ฤทธิ์ยาสลบและนำเข้าเครื่องช่วยหายใจหลังกลับจากห้องผ่าตัด 1 วัน  ผู้ป่วยเริ่มตื่น ลืมตา แต่ยังหายใจเองยังไม่เพียงพอ เช้าวันที่ 16 มีนาคม  2563 ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี หายใจแรงดี แพทย์จึงให้ถอดท่อช่วยหายใจได้ เวลา 10.30 น. และให้ออกซิเจน8-10L/min.ครอบจมูกหายใจเอง พูดคุยถามตอบได้ดี วันที่ 19 มีนาคม 2563 สามารถย้ายออกจากหอผู้ป่วยหนักไปหอผู้ป่วยสามัญ และใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาล 15 วัน จึงสามารถกลับบ้านได้จากจากจำหน่ายแพทย์นัด                                     2 อาทิตย์

References

Digger L, Zhang JG, Newcomb EW, Ge L, Hoa N, Jadus MR. Immunotherapy of brain tumor patients should include an immunoprevention strategy: a medical hypothesis paper. Journal of neuro-oncology.2012;7(6):505-16. Epub 2012/10/13.

2. Woehrer A, Slavc I, Waldhoer T, Heinz H, Zielonke N, Czech T, et al. Incidence of atypical teratoid/rhabdoid tumor: a population-based study by the Austrian Brain tumor Registry, 2012.cancer. 2012;116(24):5725-32. Epub 2012/08/26.

นลินี พสุคันธภัค, เพ็ญ ภิญโญภาสกุล. แนวทางการพยาบาล ผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกในสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2557

มานี รักษาเกียรติศักดิ์. ตำราวิสัญญีพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติ (Basic Anesthesia and Practical Approach). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. นนทบุรี: สถาบันประสาทวิทยา; 2557

สุจิตรา ลิ้มอำนวย, ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 7 ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556.

อรลักษณ์ รอดอนันต์, วธินี เล็กประเสริฐ, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. ธนาเพรส; 2555

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022