การพยาบาลรูปแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะ สุดท้าย : กรณีศึกษาเยี่ยมบ้าน

ผู้แต่ง

  • ณิชกมล เปียอยู่ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลพยาบาลพัฒนานิคม

คำสำคัญ:

การพยาบาลรูปแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

มะเร็งปอดระยะสุดท้าย เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ การรักษามะเร็งปอดระยะลุกลาม จนถึงเข้าสู่ระยะท้ายของโรคนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประคับประคอง ลดการลุกลามของโรค และบรรเทาความทุกข์ทรมาน

กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายไทย อายุ 77 ปี วินิจฉัยเป็น Small RLL Carcinoma with hepatic metastasis ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาต่อที่โรงพยาบาลมะเร็ง แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านและให้ยา Morphine บรรเทาปวดกลับมารับประทานที่บ้าน ส่งเข้าดูแลทีมประคับประคอง (Palliative care) ผู้ป่วยได้รับติดตามเยี่ยมบ้านจำนวน 4 ครั้ง ผู้ดูแลสามารถให้การดูแลผู้ป่วย จัดการอาการรบกวน ต่าง ๆ และให้ยาได้ถูกต้องตามคำแนะนำ ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านตามความต้องการที่วางแผนล่วงหน้า โดยปฏิเสธการช่วยฟื้นคืนชีพ ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบประคับประคองรวมระยะเวลา 2 เดือน

พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญมากในการประเมินและวางแผนการดูแลเป็นระยะกับทีมสุขภาพ ต้องมีความรู้และความเข้าใจ มีสัมพันธภาพที่ดี สามารถประเมินความต้องการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างครอบคลุม จัดการ ตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมด้วยความเมตตาและเอื้ออาทร พยาบาลจึงมีบทบาทในการเตรียมผู้ป่วยในการเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิตและที่สำคัญคือ การเตรียมผู้ดูแลและครอบครัว ให้สามารถปรับตัวกับสภาพการเจ็บป่วยที่บ้านของผู้ป่วย 4 ด้าน คือ ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านร่างกาย อัตมโนทัศน์ และการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เพื่อให้ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

References

World health organization. WHO definition of palliative care. Available from http//www.who.int/cancer/palliative/definition/en. March 16, 2018.

ศุลีพร แสงกระจ่าง, ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, เอกภพ แสงอริยวนิช, และวทินันท์ เพชรฤทธิ์. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: พรทรัพย์การพิมพ์, 2561.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งปอดปี 2557-2558. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2558.

เพ็ญศิริ มรกต, กิตติกร นิลมานัต, และเยาวรัตน์ มัชฌิม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวของ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล, 2558,30(2), 33-45.

สุมาลี นิมมานนิตย์. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2552.

อรพรรณ ฟูมณีโชติ. เยี่ยมบ้านกับการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง. สงขลานครินทร์เวชสาร, 2560,35(4), 399-406.

Temel, J., Greer, J., Muzikansky, A., Gallagher, E. R., Admane, S., Jackson, V. A., Lynth, C. A. Early palliative care for patients with metastatic non-small-cell lung cancer. NEJM, 2011, 363(8), 733-742.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-03-2022