ความคงตัวและความปราศจากเชื้อของ 3% NaCl Eye Drops ที่ผลิตใช้ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • นิลวรรณ์ ชนานิรมิตผล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ค่าความเป็นกรด – ด่าง, ความปราศจากเชื้อ, 3% NaCl Eye Drops

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคงตัวด้าน ความเป็นกรด – ด่าง และความปราศจากเชื้อของ 3% NaCl Eye Drops ที่ผลิตใช้ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เป็นระยะเวลา 12 เดือน นับแต่วันผลิต เก็บที่อุณหภูมิห้อง โดยวัดค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH Value) ของ 3% NaCl Eye Drops จำนวน 25 ตัวอย่าง วัดค่าทุก 2 อาทิตย์/1 ครั้งๆ ละ 1 ตัวอย่าง จำนวน 25 ครั้ง (12 เดือน) โดยใช้ pH Meter พบว่า ความเป็น   กรด – ด่าง ของ 3% NaCl Eye Drops มีค่าเฉลี่ย 6.73 เมื่อเปรียบเทียบ กับ 3% Sodium Chloride Injection  500 cc. ที่นำมาใช้ผลิต 3% NaCl Eye Drops ที่มีค่าความเป็นกรด – ด่าง 6.75 ซึ่งไม่แตกต่างกัน  (p > .05), จากการทดสอบสภาพไร้เชื้อ (Sterility test) ตามมาตรฐาน USP 39 โดยทดสอบทุก 2 อาทิตย์/1 ครั้งๆ ละ 1 ตัวอย่าง จำนวน 25 ครั้ง (12 เดือน) ผลลัพธ์ คือ ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อทั้ง 25 ตัวอย่าง 

          สรุปได้ว่า 3% NaCl Eye Drops ที่ผลิตใช้ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี มีความคงตัวด้านความเป็นกรด – ด่าง และมีความปราศจากเชื้อตลอดระยะเวลา 12 เดือน นับแต่วันผลิต

References

ประจักษ์ ประจักษ์เวช. การใช้ยาทางจักษุวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ศรีบุญอุตสาหกรรมการพิมพ์; 2529.

หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 3% Sodium Chloride ใช้หยอดตารักษาโรคอะไร [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: www.phamacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=7683.

นวภรณ์ วิมลสาระวงศ์. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาตาในโรงพยาบาล. ใน: วนิดา เดชาวาสน์, นวภรณ์ วิมลสาระวงศ์, พรศรี อิงเจริญสุนทร, บรรณาธิการ. Pediatric Extemporaneous Compounding ยาเตรียมพิเศษเฉพาะรายสำหรับเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ชัยเจริญ ; 2552. 17-22.

มหาวิทยาลัยมหิดล. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตาที่ไม่ควรมองข้าม [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: www.phamacy.mahidol.ac.th/th/khowledge.

กฤษณ์ สุขนันทร์ธะ, เบญจมาภรณ์ อภิรมณ์รักษ์. แนวทางการผลิตยาเตรียมปราศจากเชื้อในโรงพยาบาลตาม ASHP Guideline on Compounding Sterile Preparations [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 14 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://ccpe.pharmacycouncil.org/index.phpoption=article_detail&subpage=article_detail&id=411.

คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. เภสัชตำรับโรงพยาบาล พ.ศ 2549 ( List of Hospital Formulary A.D. 2006 ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2549. 76-80.

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง ). คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่3. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป; 2558.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. Biological Assay: Safety test [อินเตอร์เน็ต]. 2016 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Administrator/Downloads/2_Safety%20&%20Impurities.pdf.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. การทดสอบสภาพไร้เชื้อ ( sterility test ) [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: www.dcms.lib.nu.ac.th/dcms/TDC2552/0694/chapter2.pdf

Drugfuture. Microbiological Tests / <71>Sterility Tests 69 [Internet]. 2554 [cited 2019 Oct 10]. Available from:www.drugfuture.com/Pharmacopoeia/usp35/PDF/00690074%20%5b71%5d%20STERILITY%20TESTS.pdf

Khripun KV, Nizametdinova YS, Varganova TS. Therapeutic efficacy of 3% NaCl hypertonic solution in postoperative corneal edema.Opthamol J 2018; 11: 81-6.

World Health Organization. Test For Sterility [Internet]. 2012 [cited 2019 Oct 10]. Available from:www.who.int/medicines/publications/pharmacopoiea/TestForSterility-RevGenMethod.QAS11-413FINALMarch2012.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-03-2022