การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งขาซ้ายหักร่วมกับมีการเกิดภาวะความดันใน ช่องกล้ามเนื้อสูง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธัญญาภรณ์ ธนพานิช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, กระดูกหน้าแข้งหัก, ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทยวัย 43 ปี เกิดอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ชนสุนัข 10 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล สลบจำเหตุการณ์ไม่ได้ มีแผลถลอกบริเวณใบหน้า ขยับขาซ้ายไม่ได้ ขาซ้ายบวมผิดรูป รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาล ผู้ป่วยรู้สึกตัวที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ถ่ายภาพรังสีขาซ้ายพบกระดูกหน้าแข้งซ้ายหักละเอียด (Comminuted fracture of left Tibia plateau extend to proximal tibia ) แพทย์วินิจฉัยโรค Closed fracture of left Tibia plateau  with  proximal tibia with mild Head injury ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยแพทย์ใส่ไม้ดามขาซ้ายและใส่Philadelphia collar ที่คอไว้ และให้นอนรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ ตั้งแต่วันแรกรับใส่ Calcaneus traction บริเวณข้อเท้าซ้าย ถ่วงน้ำหนัก 5 กิโลกรัม สามารถคลำชีพจรหลังเท้าซ้าย (Dorsalis Pedis pulse) และชีพจรบริเวณเข่าซ้าย (Poplitial pulse) ได้ชัดเจน Capillary refill = 2 วินาที ขาซ้ายบวม ปวด Pain score = 8 -10 ได้ยาแก้ปวด มีอาการปัสสาวะไม่ออกแพทย์ให้ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ผู้ป่วยพักรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุครบ 24 ชั่วโมง ไม่มีอาการผิดปกติจึงย้ายมาพักรักษาต่อที่หอผู้ป่วยประกันสังคมแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเปิดใส่เหล็กเพื่อดามกระดูกหน้าแข้งซ้าย หลังจากผ่าตัดเสร็จกลับมาที่หอผู้ป่วยประกันสังคม ประมาณ1ชั่วโมงหลังกลับจากห้องผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยปวดน่องซ้ายมาก Pain score = 10 ให้ยาแก้ปวดไม่ทุเลา ขาซ้ายบวมตึงปลายเท้าซีดเย็นคลำชีพจรหลังเท้าไม่ได้ Capillary refill=10วินาที ความดันโลหิต 110/70mmHg ทำการวัดCompartment pressure ผลAnterior Compartment pressure = 40 mmHg และ Posterior compartment pressure =  60 mmHg แพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะCompartment syndrome จึงทำการผ่าตัด Fasciotomy  และใส่ Internal fixation with plate ไว้ หลังผ่าตัด 3 วันแผลมีเนื้อตายทำผ่าตัดDebridement มีภาวะซีดให้ Pack red cell 2 Unit มีไข้หลังผ่าตัด ให้ยาAntibiotic มีความวิตกกังวลในการดูแลตนเองเมื่อต้องกลับไปอยู่บ้าน ผู้ป่วยนอนรับการรักษาในโรงพยาบาล 17 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้  ก่อนกลับบ้านสามารถเดินได้โดยไม่ลงน้ำหนักเท้าซ้ายพยุงตัวด้วยไม้ค้ำยัน งอเข่าได้ดีขึ้น

References

วรนุช ทิพย์ถิระพงศ์. การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกขาหักแบบละเอียดไม่มีแผลเปิด และมีความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง: กรณีศึกษา. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4 . 2558; ปีที่17 (กันยายน-ธันวาคม) 237-244

วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคออร์โธปิดิกส์. 6, editor. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส; 2561.

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, ประเสริฐ ไพบูลย์รุ่งโรจน์. ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง : แนวคิดและการปฎิบัติการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล. 2555; ปีที่ 39 (กันยายน - ธันวาคม ) : 65 - 74

สุรกิจ ยศพล. งานวิจัยอุบัติการณ์กลุ่มอาการความดันเพิ่มในช่องกล้ามเนื้อในผู้ป่วยกระดูกขาท่อนล่างหัก ศูนย์วิจัยโรงพยาบาลมหาสารคาม: 2550

อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, ทัตภณ พละไชย, ฉัตรชัย แป้งหอม, จุฑามาศ นุชพูล. ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์: บทบาทพยาบาลในการประเมินและการป้องกัน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; ปีที่ 17(กันยายน - ธันวาคม ) : 17-24.

Verwiebe EG, Kanlic EM, Saller J, Abdelgawad A. Thigh compartment syndrome, presentation and complications. Bosn J Basic Med Sci. 2009;9 (Suppl 1):S28.

Via AG, Oliva F, Spoliti M, Maffulli N. Acute compartment syndrome. Muscles Ligaments Tendons J. 2015;5(1):18-22

von Keudell AG, Weaver MJ, Appleton PT, Bae DS, Dyer GS, Heng M, et al. Diagnosis and treatment of acute extremity compartment syndrome. The Lancet.2015;386(10000):1299-310.

Walls MH. Compartment syndrome: an orthopedic emergency. Emerg Nurs J. 2017; 43(4):303-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-03-2022