การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกาย ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กนิษฐา ปฐมอาทิวงศ์ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วย, การให้ยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกาย, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

การทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเป็นการรักษาที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่มีการหักของกระดูกสะโพก เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากพยาธิสภาพบริเวณข้อสะโพก เพื่อดำรงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวและความมั่นคงของข้อสะโพก ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความเสื่อมตามวัยทั้งทางด้านสรีรวิทยา และด้านกายภาพ รวมถึงการมีโรคประจำตัว ทำให้ผู้ป่วยสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่นภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ, การฟื้นจากยาสลบช้า, ภาวะสับสน, การเสียเลือดมาก, การให้สารน้ำที่ส่งผลให้เกิดภาวะ Heart failure และ Pulmonary edema เป็นต้น ดังนั้นจึงทำการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกายในการทำผ่าตัดข้อสะโพกเทียมเป็นการเปรียบเทียบ 2ราย เพื่อแสดงให้เห็นแนวทางในการพยาบาล ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกายในการทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่1 - หญิงไทยอายุ 70 ปี ให้ประวัติว่า 10 วันก่อนมาลื่นตกบันได แพทย์วินิจฉัยว่า Close fracture left neck of femur เข้ารับการรักษา วันที่ 25 มีนาคม 2562 รักษาโดยการทำผ่าตัด Bipolar hemiarthroplasty left hip วันที่ 27 มีนาคม 2562 ความเสี่ยงทางวิสัญญี ASA class 3 (Hypertension, EKG-abnormal, old age) Mallampati class 1ได้ยา amlodipine (5) 2tab ก่อนมาห้องผ่าตัด ใช้วิธีให้ยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกาย ขณะทำผ่าตัดพบภาวะความดันโลหิตต่ำ 80/60 มิลลิเมตรปรอท มีความเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจน และหายใจได้ไม่เพียงพอหลังผ่าตัด จากสูงอายุ มีโรคความดันโลหิตสูงและมี inferior wall infraction, left atrial enlargement มีอาการหนาวสั่นที่ห้องพักฟื้น หลังจากแก้ไขปัญหาให้การพยาบาลช่วยเหลือจนปลอดภัยส่งกลับหอผู้ป่วยและได้กลับบ้าน วันที่ 29 มีนาคม 2562 รวมรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี 5 วัน

กรณีศึกษาที่ 2 - ชายไทยอายุ 66 ปี ให้ประวัติ 2 สัปดาห์ก่อนล้มข้อเท้าพลิก 1วันก่อนมาเดินลงน้ำหนักไม่ได้ แพทย์วินิจฉัยว่ามี Close fracture right neck of femur เข้ารับการรักษา วันที่ 19 เมษายน 2562 รักษาโดยการทำผ่าตัด Bipolar hemiarthroplasty right hip วันที่ 25 เมษายน 2562 ความเสี่ยงทางวิสัญญี ASA class 2 (old age) Mallampati class 3 มีความเสี่ยงในเรื่องการใส่ท่อช่วยหายใจยากขณะนำสลบช่วยหายใจได้โดยต้องใช้อุปกรณ์ช่วย และสามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้โดยใช้ video laryngoscope ขณะผ่าตัดเสียเลือดมากต้องให้ PRC 1 unit มีอาการปวดมากและวุ่นวายที่ห้องพักฟื้นหลังจากแก้ปัญหาให้การพยาบาลช่วยเหลือจนปลอดภัยจึงส่งกลับหอผู้ป่วย และได้กลับบ้าน วันที่ 30 เมษายน 2562 รวมรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี 11 วัน

References

ธีรชัย อภิวรรธกุล. Orthopedic Trauma. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่: แสงศิลป์; 2552.

Suriyawongpaisal P, Pimjai S. A multicenter study on hip fracture in Thailand. J Med Assoc Thai 1994; 77:488-95.

Chariyalertsak S, Thakkinstain A. Mortality after hip fracture in Thailand. International Orthopedic 2001; 25:294-7.

เจษฏา ธรรมสกุลศิริ. การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกและข้อ. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2555.

มานี รักษาเกียรติศักดิ์. การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้สูงอายุ. ใน: อักษร พูลนิติกร, พรอรุณ เจริญราช, นรุตม์ เรือนอนุกูล. บรรณาธิการ. ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2558.106-16.

ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์. การให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้สูงอายุ. ใน:วิมลรัตน์ ศรีราช, อักษร พูลนิติกร, เบญจรัตน์ หยกอุบล, สุรัญชนา เลิศศิริโสภา. บรรณาธิการ. ก้าวไกลวิสัญญี. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2562. 131-46.

เสาวภา อินผา. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

พัขรียา นิวัฒน์ภูมินทร์. การให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ. ใน: อรลักษณ์ รอดอนันต์, วริณี เล็กประเสริฐ, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. บรรณาธิการ. ตำราฟื้นฟูวิสัญญี. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2555.317-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-03-2022