การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่มีภาวะหายใจล้มเหลว เฉียบพลัน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธารกมล อนุสิทธิ์ศุภการ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

มะเร็งต่อมไทรอยด์, ผ่าตัดต่อมไทรอยด์, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นภาวะวิกฤติที่ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หากมีความล่าช้าอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชมีผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ตั้งแต่ ปี 2560 – 2562 จำนวน 66, 70 และ 68 ราย ตามลำดับ ปี 2562 พบว่า  ร้อยละ 1.47 (1ราย) ที่หลังผ่าตัดเกิดภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นที่ส่งผลให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งเป็นภาวะที่ป้องกันได้

ผู้ป่วยหญิงไทยวัย 62 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชเมื่อวันที่ 8 มกราคม  2562 โดยส่งต่อมาจากโรงพยาบาลบ้านหมี่ ด้วยคลำพบก้อนที่คอ มา 2 ปี ไม่มีอาการเจ็บปวด ได้รับยาฮอร์โมนไทรอยด์ ก้อนไม่ยุบ 2 เดือนก่อน ก้อนที่คอโตขึ้น มีเสียงแหบ เวลานอนหงายมีอาการหายใจไม่สะดวก เหนื่อย ทำ Fine Needle Aspiration (FNA) ส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา ผลชิ้นเนื้อพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ ส่องกล้องตรวจระบบกล่องเสียงพบมีอัมพาตของสายเสียงด้านซ้าย แพทย์นัดมานอนโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยมีปัญหาในระยะก่อนผ่าตัด ได้แก่ มีความวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา และวิธีปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดผู้ป่วยมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะซีดที่เกิดจากการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด1500 มิลลิลิตรได้วางแผนการพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และวันที่ 2 หลังผ่าตัดมีภาวะวิกฤติหลังจากเอาท่อหลอดลมคอออก เกิดหลอดลมยุบตัวทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นส่งผลให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันต้องใส่ท่อหลอดลมคออีกครั้งและใช้เครื่องช่วยหายใจ ต่อมาผู้ป่วยได้รับการเจาะคอ เมื่อพ้นระยะวิกฤติของชีวิตผู้ป่วยสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ แต่ยังไม่สามารถนำท่อเจาะคอออกได้เนื่องจากผลการส่องกล้องตรวจระบบกล่องเสียงและหลอดลม พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะสายเสียงเป็นอัมพาตผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Follicular พยาบาลได้มีการวางแผนจำหน่ายร่วมกับทีมสุขภาพ โดยแพทย์ให้ความรู้เรื่องโรค พยาธิสภาพโรค การพยากรณ์โรค แผนการรักษาที่จะส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อโดยการกลืนแร่ที่โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีพยาบาลสอนการจัดการดูแลตนเองที่บ้านแก่ผู้ดูแลโดยเน้นการดูแลท่อเจาะคอเพื่อป้องกันภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นและการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลรวม   16 วัน รายงานการศึกษากรณีศึกษานี้ สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการให้การพยาบาลแบบองค์รวมแก่ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์และมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ต่อไป

References

ชลศณีย์ คล้ายทอง. มะเร็งต่อมไทรอยด์. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

สมจินต์ จินดาวิจักษณ์ และคนอื่น ๆ (บรรณาธิการ). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์. กรุงเทพมหานคร: โฆษิตการพิมพ์; 2558.

Brunicardi FC, Lal G, Clark OH, et al. Schwartz’s Principles of surgery 9th ed. New York: McGraw-Hill 2010: 1345-74.

คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตำราศัลยศาสตร์ ภาค 1.(พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด(มหาชน); 2558.

ธีรพร รัตนาอเนกชัย. ตำราหู คอจมูก.(พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2554.

วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร. ผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ใน วสันต์ สุเมธกุล, สมนึก สังฆานุภาพ และศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล (บรรณาธิการ). ปัญหาทางอายุรศาสตร์ในเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทครีเอชั่น; 2553.

อัญชลี เตชะนิเวศน์และวรรณา สมบูรณ์วิบูลย์. หลักการบำบัดด้วยออกซิเจน ใน วิสัญญีวิทยาขั้นต้น.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

ปารยะ อาศนะเสน. การเจาะคอ(Tracheostomy). วารสารคลินิก 2557; 30(6): 379-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-03-2022