การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ดรุณรัตน์ ทับสุวรรณ์ -

คำสำคัญ:

ระบบช่องทางด่วน, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, การพยาบาล

บทคัดย่อ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (ST elevated Myocardium Infarction: STEMI) มีอัตราการตายสูง เนื่องจาก เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารี่ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การรักษา ได้แก่ การเปิดหลอดเลือดหัวใจ (Reperfusion) ที่อุดตันให้เร็วที่สุด ซึ่งมี 2 วิธี คือ 1) การทำหัตถการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ 2) การให้ยาละลายลิ่มเลือด คือ Streptokinase (SK) ระยะเวลาตามมาตรฐานในการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to Needle time) คือ 30 นาที นับจากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล เมื่อได้รับยาละลายลิ่มเลือดแล้วจะส่งไปทำการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Coronary Artery Angiography: CAG) ต่อไป

กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทยอายุ 45 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล 60 นาที แน่นหน้าอกร้าวไปที่ไหล่ซ้าย หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม ได้รับการรักษาโดยเข้าทางด่วนสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (FAST TRACK STEMI) แรกรับ แพทย์วินิจฉัย ว่าเป็น Inferior wall myocardial infarction ได้รับ MONAC และได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK 1.5 ล้านยูนิต V drip โดยมี Door to Needle time 23 นาที รับไว้ในหอผู้ป่วยหนักในระหว่างให้ SK ไม่มีอาการผิดปกติ แต่หลังจาก SK หมดมีความดันโลหิตสูง ได้รับยา NTG 1:10 V drip  เพื่อควบคุมความดันโลหิต จากนั้นส่งต่อไปทำ CAG ที่โรงพยาบาลแม่ข่าย

กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทยอายุ 48 ปี รับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนด้วยปวดใต้ลิ้นปี่ร้าวไปสะบักซ้าย 40 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการรักษาโดยเข้าทางด่วนสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (FAST TRACK STEMI) ของโรงพยาบาลชุมชน แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Anterior wall myocardial infarction ได้รับ MONAC ได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK 1.5 ล้านยูนิต V drip โดยมี Door to Needle time 29 นาที ส่งต่อมาที่หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี ในระหว่างให้ SK  ไม่มีอาการผิดปกติแต่หลังจาก SK หมด มีความดันโลหิตสูง พูดสับสน ปากเบี้ยว แขนขางอเกร็ง ส่ง CT brain พบ Left Thalamo – ganglionic hemorrhage ขนาด 5.7 x 2.8 x5.6 cm. จึง Consult แพทย์ศัลยกรรมประสาท เพื่อส่งต่อไป โรงพยาบาลแม่ข่าย

ประเด็นสำคัญทางการพยาบาล คือ 1) อาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะช็อกจากหัวใจ (Cardiogenic shock) เนื่องจากมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย 2) เจ็บหน้าอกเนื่องจากมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 3) กลัวและวิตกกังวลเนื่องจากความรุนแรงของอาการที่เป็น  4) มีความรู้ไม่เพียงพอในการดูแลตนเอง 5) อาจเกิดการมีเลือดออกผิดปกติในระบบต่างๆ จากผลข้างเคียงของยาละลายลิ่มเลือด กรณีศึกษาที่ 1 หลังจากให้ยาละลายลิ่มเลือด ไม่พบภาวะแทรกซ้อน การรักษาพยาบาลเป็นไปตาม Guideline และส่งต่อไปทำ CAG ตามระบบ กรณีศึกษาที่ 2หลังให้ยาละลายลิ่มเลือด มีภาวะ  แทรกซ้อนคือมีเลือดออกในสมอง ส่งต่อแพทย์ศัลยกรรมประสาทตามระบบ แสดงให้เห็นว่าการมีระบบช่องทางด่วนและระบบการดูแลติดตามผู้ป่วยตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและหอผู้ป่วยหนัก ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ป่วยทั้งที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อทันเวลาและรอดชีวิต

References

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย : 2557. ฉบับปรับปรุง ปี 2557 เข้าถึงได้จาก http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/Guideline%20for%20Ischemic%20Heart%20Disease%202104.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562

สถาบันโรคทรวงอก.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: 2560. เข้าถึงได้จากhttps://www.ccit.go.th/news/health_detail.php?post_id=459 เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2562

บุญจงแซ่จึงและ สุทธิพันธ์ สุทธิสุข.การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic therapy) ในภาวะ STEMI. ใน : เกรียงไกร เฮงรัศมีและกนกพร แจ่มสมบูรณ์,บรรณาธิการ.มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.กรุงเทพ:สุขุมวิทการพิมพ์, 2555 ; 10-18.

วิกิพีเดีย. กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด. 2560. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562

ณรงค์กร ชัยวงศ์และปณวัตร สนัประโคน. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ Acute Coronary Syndrome: Challenges of Emergency Nurse in Critical Care. 2562. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/VPPnjD_NswmMbtyIcFNNrcWaffBN4TJz%20 (1).pdf

พรทิพย์ อัครนิตย์และประมวลรัตน์ พจนา.การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561 ; 21(1) : 99-112.

จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์, ศรีสุรีย์สูนพยานนท์และอัญชลีคงสมบุญ.การพัฒนาระบบส่งต่อช่องทางด่วนผู้ป่วย STEMI จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2559 ; 6(1): 2-14.

จันทราภรณ์ สร้อยประเสริฐ, อรุณศรี รัตนพรหมและปิยธิดา บวรสุธาศิน.การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในเครือข่ายโรคหัวใจและหลอดเลือด จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต. 2560 ; 11.31(3) : 495-506.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-03-2022