การพยาบาลผู้ป่วยนิ่วในท่อน้ำดีที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด:กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ฤทธิ์ฤดี กลุ่มงานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

นิ่วในท่อน้ำดี, การพยาบาล, ติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ: นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี เป็นปัญหาทางสุขภาพและเศรษฐกิจของประชากรในประเทศ ได้แก่ ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ท่อน้ำดีอักเสบจากนิ่วในท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบจากนิ่วอุดตัน ส่วนมากโรคนิ่วในท่อน้ำดีผู้ป่วยจะไม่มีอาการ และในคนที่มีอาการจะมีอาการคล้ายโรคลำไส้หรือโรคกระเพาะ ทำให้วินิจฉัยยาก จนมีโอกาสเกิดอาการรุนแรง ติดเชื้อในกระแสโลหิต ถึงกับเสียชีวิตได้  2-3% ต่อปี ดังนั้นผู้ศึกษาได้เห็นความสำคัญของการพยาบาล โดยพยาบาลต้องมีการประเมิน การวางแผนการพยาบาล การวินิจฉัย การปฏิบัติการพยาบาล ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน ปลอดภัย สามารถกลับไปดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ

วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบทางเดินน้ำดี ก่อนและหลังผ่าตัดหรือหลังทำหัตถการไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาผู้ป่วยนิ่วในท่อน้ำดีที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด รายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง 1 ราย ที่ตึกไอซียูศัลยกรรมโรงพยาบาลอ่างทอง ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือน มกราคม 2565

ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 71 ปี เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลอ่างทองเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้วยอาการ 2-3 วันก่อนปวดท้องจุกใต้ลิ้นปี่ ถ่ายเหลว 2-3 ครั้ง ไม่มีคลื่นไส้อาเจียนหลังรับประทานเกลือแร่แล้วดีขึ้น วันที่ 25 พฤษภาคม 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการหน้ามืดเป็นลมหนาวสั่น ที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินมีไข้ 40.2 องศาเชนเซียส BP 88/58 mmHg PR 120 ครั้ง/นาที RR 30 ครั้ง/นาที แพทย์วินิจฉัยว่า septic shock ให้การรักษาโดย load 0.9% NSS 1500 cc และเริ่ม Levophed  4:250 เริ่มที่ 10 cc/hr keep BP >90/60 mmHg เริ่มให้ยา ceftriaxone 2gm IV OD ผู้ป่วยมี oxygen sat 83 %s หายใจเหนื่อย RR 30 ครั้ง/นาที แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ No 7.5 ลึก 22 cm ส่งเข้าตึกอายุรกรรมหญิง on bird’s respirator  NPO แพทย์ตรวจร่างกายพบกดเจ็บใต้ชายโครงขวามาก ส่งทำ ultrasound upper abdomen ผลDiffuse dilatation of bilateral IHDs and CBD without demonstrable cause of obstruction Further CT is suggested แพทย์พิจารณาส่งทำ CT upper abdomen ผล A 1.7 oval iso-hyperdensity lesion  at distal CBD (distal CBD stone ) causing biliary system obstruction (intrahepatic duct 1 cm . and CBD 1.8 cm ) and swelling ampullar of vater Distended gallbladder form biliary obstruction without stone or mass or cholecystitis ส่งปรึกษาแพทย์ศัลยกรรม ให้ย้ายไปตึกไอซียูศัลยกรรม set OR for ERCP with EST with Balloon extraction with stent 1เส้น on ventilator Vital sign stable off Levophedw ได้ หายใจไม่เหนื่อย wean off ETT ได้ เริ่มรับประทานอาหารได้ ย้ายออกจากไอซียูศัลยกรรมไปอยู่ตึกศัลยกรรมหญิงและสามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้โดยปลอดภัย รวมรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 8 วัน หลังจำหน่ายแพทย์นัด 2 อาทิตย์ ตรวจเลือดดูค่า LFT CBC  ผลเลือดเป็นปกติ

References

สรรชัย กาญจนลาภ. นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี.ภาควิชาศัลยศาสตร์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎ;2554.

อภัย สุขเจริญ. การพัฒนาแบบแผนการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจ ทางเดินอาหารส่วนต้น.มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

ทศพล เจริญวุฒิ. การส่องกล้องระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) [อินเทอร์เน็ต]. โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา; [เข้า ถึงเมื่อ 4 ธ.ค. 64]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phyathai. com/medicalcenterdetail_article/11/805/PYT2/th.

ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร-บีเอ็นเอช. การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดี ERCP [อินเทอร์เน็ต]. โรงพยาบาลบีเอ็นเอช; [เข้าถึงเมื่อ10 ธ.ค. 64]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bnhhospital.com/th/cm/d/gastrointestinal/the_complete_digestive_medica.

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารโรงพยาบาลจุฬารัตน์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 ธ.ค 64]. เข้าถึงได้จาก:http://www.chularat.com /healthpackage_treatment_detail.php?id=518&lang=en.

ระพีพันธุ์กัลยาวินัยและผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารและโรคตับ รพ.จุฬาลงกรณ์. นิ่วในทางเดินน้ำดี หรือนิ่วในถุงน้ำดีปัญหาที่พบได้โดยคุณไม่รู้ตัว แนวทางการรักษา[อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 7 ธ.ค. 64]. เข้าถึงได้จาก:https://thth. facebook.com.

วีกิจ วีรานุวัตติ์. ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร Siriraj GI scope center [อินเทอร์เน็ต]. โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล;[เข้าถึงเมื่อ 3 ธ.ค.64]. เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/office_d/adm/Gi_scope/ercp.html.

วัชรินทร์ คำสา. โรคและหัตถการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและตับ ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 11 ธ.ค. 64]. เข้าถึงได้จาก:http://gicente. blogspot .com/2013/09/ercp .

ข้อมูลงานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลอ่างทอง.จำนวนผู้ป่วยนิ่วในท่อน้ำดี.

พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล, นาตยา คำสว่าง, ปัญญา เถื่อนด้วง. ผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังใช้แนวเวชปฏิบัติ. พุทธชินราชเวชสาร; 2550; 24(1): 33-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022