ผลของโปรแกรมการให้คำแนะนำแบบสั้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่อการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลอินทร์บุรี

ผู้แต่ง

  • จารุณี ปลายยอด กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอินทร์บุรี
  • ชีวรัตน์ ต่ายเกิด กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด, โรงพยาบาลอินทร์บุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้คำแนะนำแบบสั้น, การควบคุมความดันโลหิต , โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ

บทคัดย่อ

บทนำ: ปี 2560 ถึง 2564 อำเภออินทร์บุรี อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 11.52 เป็นร้อยละ 14.67 อัตราการควบคุมความดันโลหิต เท่ากับ ร้อยละ 42.68 และ 52.05 ตามลำดับ ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

วิธีการศึกษา: งานวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือผู้ที่เป็นความดันโลหิตที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ จำนวน 50 ราย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้คำแนะนำแบบสั้น สร้างโดยเทอดศักดิ์ เดชคงจากทฤษฎีการสนทนาสร้างแรงจูงใจ ของมิลเลอร์ และ โรลนิค โดยใช้ทักษะ 3As คือ 1) Affirmation 2) Ask 3) Advice จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 5 นาที ทุก 12 เดือน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตและแบบบันทึกการให้คำแนะนำแบบสั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ Chi-square

ผลการศึกษา: หลังเข้าร่วมโปรแกรม 1) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิกของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p <.05) 2) กลุ่มทดลอง มีจำนวนผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)

สรุป: โปรแกรมนี้ใช้เวลาน้อย ปรับใช้กับผู้ป่วยที่มีปริมาณมาก ตามระบบนัดปกติของผู้ป่วยได้

References

ธาริณี พังจุนันท์และนิตยา พันธุเวทย์. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก 2556. [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556]: 1-7 เข้าถึงได้จาก http:// thaincd.com/ document /file/news/announcement/message%20HT% 2012%2004 %2012update.pdf.

Brookes, L. New US National Hypertension Guidelines-JNC 8-To be announced. [internet]. 2008. [cited July 26, 2010] Available from www.medcape.com

Vila, E. H. (2015). A review of the JNC 8 blood pressure guideline. Texas Heart Institute Journal. 43 : 13 : 226-7.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อ 5 มิติ. ใน รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สืบค้นข้อมูล เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 จาก : thaincd.com/2016/media-detail.php.

จิตรา บุญโพก หทัยชนก เกตุจุนา เบญจมาศ นาคราช ขวัญชนก ธีสระ วรัญญา ตรีเหลา รุ่งนภา ลั่นอรัญและคณะ. (2565). รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สืบค้นข้อมูล เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 จาก : ddc.moph.go.th.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. ฐานข้อมูล HDC จังหวัดสิงห์บุรี.[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://sbr.hdc.moph.go.th.

Chobanian, A.V., Bakris, G.L., Black, H.R., Cushman, W.C., Green, L.A., & Izzo, J.L., et al. The seventh report of the Joint National Committee on prevention, detection, evaluation, and treatment of high blood pressure (The JNC 7 report). JAMA 2003; 289: 19 : 2560-72.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง อลิสรา อยู่เลิศลบและสราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: thaincd.com/document /hot%20news/ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก_2562.pdf.

Rubak, S., Sandback, A., Lauritzen, T., & Christensen, B. (2005). Motivational interviewing : a systematic review and meta-analysis. British Journal of General Practice, 2005 ; April : 305-11.

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2563). ผลของการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อการลดค่าซิสโตลิก ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. กระบี่เวชสาร, 3(2), 19-26.

Miller, W., & Rollnick, S. Motivational interviewing: Helping people change. 3rdNew York: Guilford Press; 2013.

Procaska, J.O. & Diclemente, C. C. The transtheoretical approach: In Norcross, J., Gold fried, M.R., editors. Handbook of psychotherapy integration. 2nd ed. Oxford university press; 2005-p141-171

เทอดศักดิ์ เดชคง. คู่มือการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Motivational Counseling)สำหรับผู้ให้คำปรึกษาในระบบสาธารณสุข.โครงการพัฒนาการศึกษาวิจัยอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรม; 2556.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติ พ.ศ.2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

กิรณา อรุณแสงสด วันทนา มณีศรีวงศ์กูลและอรสา พันธ์ภักดี. (2557). ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบสั้น ต่อความรู้ แรงจูงใจ และความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(3), 129-44.

เทอดศักดิ์ เดชคง. ผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อการลดค่าซีสโตลิกและน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการ สคร.9 2563; 26(3), 62-71.

กมลพรรณ วัฒนากร อาภรณ์ ดีนาน สายใจ พัวพันธ์ และ Joanne Kraenzle Schneider. (2556). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานคนไทยที่มีภาวะอ้วน. Pacific Rim Int J Nurs Res 2556; 17(4) : 356-70.

รัชนี อุทัยพันธ์ และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจแบบกลุ่มต่อความร่วมมือในการักษาด้วยของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต; 27(1) :136-48.

องค์อร ประจันเขตต์. ผลของการให้คำปรึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

นนทวัฒน์ อิทธิจามร. แรงจูงใจบทเรียนสำคัญที่สุดของความสำเร็จระดับตำนาน. กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งแสงการพิมพ์ จำกัด; 2560.

Bandura, A. Social Learning Theory. New Jersy: Eaglewood Cliffs; 1997.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี : บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022