การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันร่วมกับภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมองตีบ, ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว, ยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดในสมองตีบ (Stroke) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการ โรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันเป็นระยะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง แต่เนื้อสมองยังไม่ตายผู้ป่วยยังมีโอกาสฟื้นฟูได้ถ้าได้รับการรักษาและดูแลที่ถูกต้อง รวดเร็วตามมาตรฐานวิชาชีพ และยังพบว่าในผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นพลิ้วมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติถึง5เท่า
วัตถุประสงค์ของการศึกษา : เพื่อศึกษา เพิ่มพูนความรู้และทักษะกระบวนการพยาบาลในการดูแลการพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันร่วมกับภาวะหัวใจเต้นพลิ้วได้ถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพและเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤตไม่มีภาวะแทรกซ้อน ญาติและผู้ป่วยสามารถกลับไปดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
กรณีศึกษาผู้ป่วยรายนี้พบว่าผู้ป่วยมาด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบในระยะเฉียบพลันและตรวจพบว่ามีภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว(Atrial fibrillation :AF) ร่วมด้วยแต่ยังไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยมาด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ช่วยเหลือที่ถูกต้อง รวดเร็วตั้งแต่ที่เกิดเหตุ ถูกนำเข้าสู่ระบบfast track strokeของโรงพยาบาลอ่างทองได้รับยาละลายลิ่มเลือดRecombinant Tissue Plasminogen Activator(rt-PA) ได้ภายในเวลา 2 ชั่วโมง 35 นาที Door to needle 55นาที ประเมิน NIHSS(National Institute of Health Stroke Scale) ก่อนให้ยา13คะแนน ผลจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต อาการดีขึ้นตามลำดับสามารถยกแขนขาข้างที่อ่อนแรงได้ประเมินNIHSSซ้ำได้5คะแนน observe clinical post rt-PAไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ไม่มีอ่อนแรงเพิ่ม ทำ CT brain หลังให้ยา rt-PA ครบ 24 ชั่วโมงพบว่า ไม่มีHemorrhage ระหว่างadmit Stroke unit ผู้ป่วยมีภาวะAF หัวใจเต้นเร็ว HR 160-180 ครั้ง/นาที ใจสั่น ไม่แน่นหน้าอก กระสับกระส่าย ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขภาวะวิกฤตได้รวดเร็ว ถูกต้องเหมาะสมจากสหสาขาวิชาชีพ ผลลัพธ์คือผู้ป่วยปลอดภัย พ้นภาวะวิกฤต ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยพักรักษาอยู่โรงพยาบาล 8 วันอาการทุเลาสามารถกลับบ้านได้ หลังจำหน่ายมีนัดทำ Cardiogram 1 สัปดาห์ และนัดตรวจซ้ำผู้ป่วยนอกแผนกอายุรกรรมอีก1เดือน รวมค่ารักษา 53,032บาท
References
กิ่งแก้ว ปาจรีย์. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : แอล.ที.เพรส ; 2557
นิจศรี ชาญณรงค์. ตำราการดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ; 2550
นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาล. 2562; 34(3): 15-29.
พรภัทร ธรรมสโรช. โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ ; 2555
โรงพยาบาลอ่างทอง. รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จังหวัดอ่างทอง (Service plan) สาขาโรคหลอดเลือดสมอง. เอกสารนำเสนอ การตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบ 2 ปี 2564 .อ่างทอง: มปท; (เอกสารอัดสำเนา)
วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาและให้ยาละลายลิ่มเลือดสำหรับโรคหลอด เลือดสมองตีบเฉียบพลันภายนอกโรงพยาบาลและที่ห้องฉุกเฉินปี พ.ศ. 2563. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค. 2564] สืบค้นจากURL: https://drive. google.com/…/19yUBj0ywS56DdgIIDyZccFZw0…/view.
สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป.ฉบับ สมบูรณ์ 2558. พิมพ์ ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ, กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, 2559.
สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. ฉบับสมบูรณ์ 2562. พิมพ์ ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ, กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, 2562: 8.
สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์. ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นระรัว(Patient with Atrial Fibrillation) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย.2564] สืบค้นจาก. https://med. mahidol.ac.th/med/sites/defalt/files/pubbic/pdf/medicinebook1/atrail%20fibrillation.pdf
World Health Organization Meeting on Community Control of Stroke and Hypertension. Control of stroke in the community: methodological considerations and protocol of WHO stroke register. CVD/s/73.6 Geneva: WHO, 1973
World Stroke Day. [online]. [Cited 2016 Aug 19]; Available from: URL: htt://www.worldstrokecampaign.org/media/pages/About World Stoke Day2016.aspx.
เพียงใจ ดาวัลย์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด: กรณีศึกษา. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 2562; 28(1): 35-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว