การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลังและไขสันหลังฟกช้ำ
คำสำคัญ:
การบาดเจ็บที่กระดูกไขสันหลัง, ภาวะกระดูกสันหลังฟกช้ำ, การพยาบาลบทคัดย่อ
บทนำ: การบาดเจ็บไขสันหลัง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต ซึ่งมีผล กระทบต่อสุขภาพของประชากร ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทุพพลภาพ เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ไม่รู้ตัวมาก่อน เป็นการสูญเสียที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตในทุกด้าน บทบาทของพยาบาลจึงต้องมีทักษะในการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับทั้งในระบบประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกวิธีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น พยาบาลต้องวางแผนในการเตรียมผู้ดูแลให้พร้อม การประสานงานกับเวชกรรมและสหสาขาวิชาชีพในการติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำและเพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อเพิ่มทักษะในการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขั้น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลในการรับสภาพความเปลี่ยนแปลงของรูปลักษณ์และแบบแผนการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องและเหมาะสมตามแบบมาตรฐานวิชาชีพ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลังและไขสันหลังฟกช้ำรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง 1 ราย ที่ตึกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลบ้านหมี่ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2563
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทยอายุ 53 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านหมี่เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 รับใหม่จากแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน เวลา 19.05 น. ประวัติอุบัติเหตุจราจรดื่มสุราขับรถจักรยานยนต์ล้มเองใบหน้ากระแทกพื้นมีแผลบริเวณใบหน้าด้านซ้าย ตาซ้ายบวมช้ำ แขนขาอ่อนแรง motor power แขน 2 ข้าง grade 2, ขา 2 ข้าง grade 1 มีสภาวะไขสันหลังหยุดการทำงาน (spinal shock) ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นช้า ทำการแก้ไขภาวะ spinal shock เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี แขน ขา 2 ข้างอ่อนแรง หายใจได้เอง สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 36.5 องศาเซลเซียส ชีพจร 96 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 105/60 มิลลิเมตรปรอท ประเมินอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ สังเกตลักษณะการหายใจ ผล MRI cervical spine พบมี both C6/right C7 exiting root compression ผู้ป่วยมีภาวะของเสียคั่งจากตับวาย (hepatic encephalopathy) หายใจเหนื่อย24-26 ครั้ง/นาที ปรึกษาวิสัญญีแพทย์ประเมินการใส่ท่อช่วยหายใจ ย้ายผู้ป่วยไป หอผู้ป่วยหนัก มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง clear airway ส่งตรวจโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี เพื่อพบแพทย์ศัลยกรรมกระดูกด้านกระดูกสันหลัง แพทย์ให้การรักษาแบบประคับประคอง และนัดไปพบแพทย์อีก 1 เดือน
เมื่อผู้ป่วยพ้นภาวะ hepatic encephalopathy มีการฟื้นฟูสภาพ (rehabilitation) ให้อาหารทางสายยาง (on NG tube for feeding) โดยเริ่มที่ 200 ซี.ซี วันละ 4 เวลา สอนผู้ดูแลเรื่อง NG tube feeding และ sterile technique, การป้องกันการติดเชื้อ (prevention of infection) แนะนำการใส่ condom ให้ผู้ป่วย ส่งปรึกษานักกายภาพในการสอนการบริหารกล้ามเนื้อแขนและขา ดูแลสภาพจิตใจทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
วางแผนเตรียมจำหน่ายโดยแนะนำการเตรียมความพร้อมที่บ้าน ผู้ดูแล สิ่งแวดล้อม ให้ภรรยาได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแล ฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ ยอมรับสภาพการสูญเสียภาพลักษณ์ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย วางแผนการพยาบาลเพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว การป้องกันการติดเชื้อ ส่งต่อรพ.สต.เพื่อเยี่ยมและประเมินผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาลกลับไปอยู่บ้าน แนะนำแหล่งสนับสนุนทางสังคม ประสานงานสหสาขาวิชาชีพในการเยี่ยมบ้าน แนะนำการไปตรวจตามนัดที่โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี ผู้ดูแลและญาติมีความพร้อมในการดูแลเมื่อกลับไปอยู่บ้าน จำหน่ายโดยแพทย์อนุญาต ในวันที่ 20 กันยายน 2563 รวมระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล 19 วัน
References
ธีรชัย อภิวรรถกุล. (2546, สิงหาคม). การพยาบาลผู้บาดเจ็บไขสันหลังระยะเฉียบพลัน. เอกสารประกอบการอบรมเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยออโธปิดิกส์,งานการพยาบาลผู้ป่วยออโธปิดิกส์ และภาควิชาออโธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรรณี สัตยวิวัฒน์, สุปราณี เชื้อสุวรรณ. การพยาบาลผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ. ใน: วรรณี สัตยวิวัฒน์,บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยออโธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส; 2551. หน้า 493-532.
ไสว นรสาร. การพยาบาลผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลัง (ออนไลน์). 2553 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553): เข้าถึงได้จาก URL: http://www.ra.mahidol.ac.th/ONS/2009/SNPR/NEWS/2009/ Emergency2009/Doc/EmergencyS03.
พวงทอง กล่อมใจเย็น. การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางกระดูกสันหลังและไขสันหลังระยะฟื้นฟูสภาพหอผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลศิริราช. วารสารชมรมพยาบาลออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย 2547;9:58-64.
ชลเวช ชวศิริ, อาศิส อุนนะนันทน์, พวงทอง กล่อมใจเย็น, บรรณาธิการ, Evaluation and initial management of spinal injury, Multidisciplinary approach to spinal injured patiants; วันที่ 5 – 7 ตุลาคม 2548; ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามมินทร์ ชั้น 7 โรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว