การเปรียบเทียบผลทันทีของการรักษาด้วยเทคนิคการกดจุดตามด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการรักษาด้วยเทคนิคการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามด้วยการกดจุดในผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ บ่ายเที่ยง งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

การกดจุด, การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ, ปวดกล้ามเนื้อและพังผืด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลทันทีของการรักษาด้วยเทคนิคการกดจุดตามด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (กลุ่มที่1) และการรักษาด้วยเทคนิคการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามด้วยการกดจุด (กลุ่มที่2) ในผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนที่ส่งผลต่อระดับอาการปวด (VAS) และระดับความรู้สึกกดเจ็บ (PPT) ในผู้ที่มีอาการปวดคอและบ่าที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด อาสาสมัครที่คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 40 คนถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มเพื่อเข้ารับการรักษาด้วยเทคนิคทั้งสอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความน่าเชื่อถือในระดับดีมาก ได้แก่ visual analog scale (ICC=0.97) และ algometer (ICC=0.96) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการรักษาทันที VAS และ PPT เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มไม่พบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม VAS ของทั้งสองกลุ่มภายหลังการรักษาทันที มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วน PPT ของทั้งสองกลุ่มภายหลังการรักษาทันทีพบ มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มที่2 สามารถลด VAS และเพิ่ม PPT ได้มากกว่ากลุ่มที่ 1 จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าการรักษาทั้งสองกลุ่มสามารถลด VAS และเพิ่ม PPT ในผู้ที่มีอาการปวดคอและบ่าที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดได้

References

Borg-Stein J, Simons DG .Myofascial pain. Arch Phys Med Rehabil. 2002; 83 Suppl 1: S40-7.

ประวิตร เจนวรรธนะกุล. โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ที่ทำงานในสำนักงานจากงานวิจัยสู่แนวปฏิบัติ. 2558.

Phumiphithakkun K, Soodnoreekun C. Sirisabya P. Treatment of myofascial pain syndrome by needling in police general hospital. J Thai rehabil Med. 2002;12: 8-14.

ArjaHakkinen, Petri Salo, UllaTarvainen, KaijaWiren, JariYlinen. Effect of manual therapy nd stretching on neck muscle strength and mobility in chronic neck pain. J Rehabil Med 2007; 39: 575-579.

Desai MJ. Saini S. Myofascial pain syndrome: a treatment review. Pain Ther 2013; 2(1): 21-36.

Jamie Dearing, Hamilton F. An examination of pressure pain thresholds (PPT’s) at myofascial trigger points (MTrP’s), following muscle energy technique or ischemic compression treatment. 2007: 87-8.

Pinmas N, Punknokpong C. Therapeutic Effect between Physical Treatment and Neck Exercisein Neck Pain Patients. Buddhachinaraj Medical Journal Volume. 2008; 25 (3): 835-841.

Menakam, K.Kalaichandran. Effect of Ischemic Compression Followed by Stretching on Myofascial Trigger Points. International Journal of Scientific and Research Publications, Volume 5, Issue 1, January 2015.

Melzack R, Wall PD. Pain mechanisms: a new theory. Science 1965; 150: 971-9.

Yodchai B, Supaporn P, Settapong N, Thanaporn S, Wanatchaporn S, Chokcharin N. Trigger point: Curable or palliative symptoms. Bull Chiang Mai Assoc Med Sci 2016; 49(1): 155-166.

Sciotti VM, Mittak VL, DiMarco, L., Ford, L., Plezbert, J., Santipadri, E., Wigglesworth, J., Ball, K. Clinical precision of myofascial trigger point location in the trapezius muscle. Pain; 2001; 93(3): 259-266.

Tiwa Kosol, Keerin Mekhora, Sakul sriprasert P. Comparison of Strain Counter-Strain and Ischemic Compression Followed by Passive Stretching in Subjects with Myofascial Pain Syndrome. 2010: 862-9.

Simons DG, Travell JG, Simons, L.S. Myofascial pain and dysfunction: the trigger point manual,The Upper Extremities vol. 1.second nd Williams and Wilkins, Baltimore.USA; 1999.

Apoorva P, Nilima B, Ashok S, Parag S. Effect of muscle energy technique and static stretching on pain and function disability in patients with mechanical neck pain:A randromized controlled trial. J Hong Kong Physiotherapy 2016; 35: 5-11.

Bijur PE, Silver W, Gallagher JE. Reliability of the visual analog scale for measurement of acute pain. AcadEmerg Med 2001; 8: 1153-57.

Bird SB, Dickson EW. Clinically significant changes in pain along the visual analog scale. Ann Emerg Med 2001; 36: 639-43.

Kinser AM, Sands WA, Stone MH. Reliability and validity of a pressure algometer r. J Strength Cond Res 2009; 23: 312-4.

Downloads