การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ แบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ขวัญจิตร ศักดิ์ศรีวัฒนา กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี
  • จิรธิดา อนันต์นาวีนุสรณ์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี
  • วาสนา ธรรมวาจา กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี
  • รุ่งทิพย์ รัตนไมตรีเกียรติ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี
  • เกรียงศักดิ์ ชัยนาภาพงษ์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การให้บริการผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ, โรงพยาบาลชลบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วย ผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลชลบุรี และศึกษาผลของการใช้รูปแบบการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับที่พัฒนาขึ้น โดยใช้วงจรการพัฒนาคุณภาพ PDCA และประยุกต์แนวคิดทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายของคิง สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ แบบวันเดียวกลับ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลชลบุรี ในช่วง เดือนเมษายน - เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย 30 ราย พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ชุด คือรูปแบบการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่า CVI = 1.0 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความวิตกกังวล มีค่า CVI .80 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค .80 แบบสอบถามการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด มีค่า CVI .80 และค่าความเชื่อมั่น .80 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและความพึงพอใจของพยาบาลห้องผ่าตัดต่อรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ มีค่า CVI .80, .80 และค่าความเชื่อมั่น .80, .86 และแบบบันทึกระยะเวลาวันนอน ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

การศึกษาสภาพปัญหา การวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะคือ 1) ศึกษาปัญหาและสถานการณ์ ประกอบด้วยการแก้ปัญหา ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ และด้านสถานที่ 2) พัฒนารูปแบบการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย แนวทางการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด การดูแลขณะผ่าตัด การให้คำแนะนำและสื่อ และการติดตามต่อเนื่องหลังผ่าตัด 3) การนำไปใช้ได้จริงในการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัด 4) ศึกษาผลลัพธ์รูปแบบการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียว ด้านผู้ป่วยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ (t = 4.73, df = 29, p < .01) 2) ผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ ร้อยละ 80 มีการปฏิบัติหลังผ่าตัดอยู่ในระดับมาก 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4) ค่าเฉลี่ยร้อยละคะแนนความพึงพอใจของพยาบาลสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย อยู่ในระดับดีมาก 5) ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ย 1 วัน 6) มีภาวะแทรกซ้อน 1 รายมีเลือดคั่งในแผลผ่าตัด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นคุณค่าของการพัฒนา และกำหนดแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ จึงควรนำรูปแบบที่รูปแบบไปใช้ และพัฒนาไปใช้ในผู้ป่วยผ่าตัดอื่น ๆ ต่อไป

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การรายงานตัวชี้วัดสำคัญระดับกระทรวง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2560.

กระทรวงอุตสาหกรรม. ยุทศาสตร์การพัฒนาและขับเคลื่อน Thailand 4.0 ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2560- 2579).

เรณู อาจสาลี. การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด. กรุงเทพฯ: เอ็น พีเพรส; 2555.

เอกชัย ผดุงภักดีวงศ์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบด้วยการใช้ยาชา เฉพาะที่และการให้ยาชาทางช่องไขสันหลัง: การทดลองแบบสุ่ม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์ เขตเมือง 2559; 60(40). 269-275.

Callesen, Bech, Kehlet. One – Thousand Consecutive Inquinal Hernia Repairs under unmonitored local anesthesia. Anesth Analgesia 2001; 93: 1373-1376.

Deming, Edward W. Out of The Crisis. USA: The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study 1995.

สุเนตรา แก้ววิเชียร และศิริพร สังขมาลย์. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารกองการพยาบาล 2557; 41(3): 83-99.

สุมาลี ขัดอุโมงค์ กนกพร สุคำวัง และ โรจนี จินตนาวัฒน์. ผลของการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก.พยาบาลสาร 2552; 36(4): 120-132.

King I.M. King’s theory of goal attainment. Nursing science quarterly 1992; 5: 19-26.

แผนกห้องผ่าตัดโรงพยาบาลชลบุรี. รายงานการผ่าตัดสูติกรรม. โรงพยาบาลชลบุรี: 2559-2560.

Bagheri H., Ebrahimi H., Abbasi A., Atashsokhan G., Salmani Z.And Zamani M , Effect of Preoperative visitation by operating room staff on preoperative anxiety in patients receiving elective hernia surgery. Journal of Peri Anesthesia Nursing 2018: 1-9.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner AG. Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39 (2): 175-91.

Johnson, M. Anxietyin Surgical Patients. Psychological Medicine 1980; 1: 145-152.

Eriksen, L.R. Measurring patient satisfaction with nursing care: A magnitude estimation approach. In F.W.Carolyn(ed). Measurement of nursing outcomes. New York: Springer Publishng Company 1988.

มนิสา เพชรโยธา และนัยนาสังคม. โปรแกรมการลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กไส้เลื่อนบริเวณ ขาหนีบที่ได้รับการผ่าตัด แบบ ambulatory surgery www.tpna.or.th/th_old/index. php?option=com_content&view...id...

ศิริรัตน์ จารรัชกุล และ ฐานิวรรณ ดาวจันทร์. 2557. การเสริมแรงเพื่อการฟื้นสภาพในผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดทางช่องท้องโรงพยาบาลศรีสะเกษ. รายงานการวิจัย ในการประชุมเสนอผลงานวิจับระดับบัณฑิตศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บันลือ ช่อดอก และอายะ ไข่มุกต์ ผลการศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดไส้เลื่อนชนิดไม่ฉุกเฉินโดยใช้วิธี ระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังกับการฉีดยาชาเฉพาะที่ในโรงพยาบาลหาดใหญ่. สงขลานครินทร์เวชสาร 2553; 28(5), 247-25.

Downloads