การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

ผู้แต่ง

  • ซ่อนกลิ่น ชูจันทร์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อ (Septic shock) ซึ่งมีอัตราการตายสูง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด การเสียชีวิต คือการได้รับการวินิจฉัยล่าช้า การได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ การเริ่มให้ยาปฏิชีวนะช้ากว่า 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัย การได้รับการรักษานอกหอผู้ป่วยวิกฤติ การเกิดภาวะช็อค (Septic shock) และการมีอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ (Multiple Organ Dysfunction Syndrome : MODS) การใช้แนวปฏิบัติในการดูแลและจัดการผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis guideline) โดยกำหนดเป้าหมายของการรักษาในระยะ 6 ชั่วโมงแรก (Early Goal Direct Therapy: EGDT) จะช่วยชะลอการเกิดอวัยวะล้มเหลว และลดอัตราการตายได้

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อ ในกระแสเลือด กรณีศึกษาที่ 1 แพทย์วินิจฉัย pneumonia with septic shock กรณีศึกษาที่ 2 แพทย์วินิจฉัย Acute Diarrhea with septic shock ทั้ง 2 รายได้รับการปฏิบัติตาม Sepsis guideline กรณีศึกษาที่ 1 รับเข้าดูแลในหอผู้ป่วยหนักกรณีศึกษาที่ 2 รับเข้าดูแลในหอผู้ป่วยใน แต่เนื่องจากผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลในระยะ 6 ชั่วโมงแรกของกรณีศึกษาที่ 2 ไม่บรรลุเป้าหมาย ทำให้เกิดการทำงานของอวัยวะล้มเหลว (Organs dysfunction) โดยเฉพาะระบบการหายใจล้มเหลว ทำให้ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและย้ายเข้าหอผู้ป่วยหนัก ผลการรักษาพยาบาล พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย รอดชีวิต โดยผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยหนัก 3 วันและ 5 วัน ตามลำดับ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้บรรลุผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลผู้ป่วย Sepsis ในระยะ 6 ชั่วโมงแรก คือ สมรรถนะเชิงวิชาชีพของพยาบาลในการปฏิบัติตาม Sepsis guideline ตระหนักถึงความสำคัญของการMonitor อย่างต่อเนื่อง การใช้ Early Warning Signs รายงานแพทย์ในเวลาที่เหมาะสม การพยาบาล เพื่อตอบสนองการรักษาแบบมุ่งเป้าใน 6 ชั่วโมงแรก เนื่องจากจะช่วยชะลอการล้มเหลวของอวัยวะสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ และในด้านการบริหารจัดการ ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่อาจจะเกิด Septic shock ควรได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก

References

สำนักตรวจราชการกระทรวง สาธารณสุข. รายงานการตรวจราชการ ประจำปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 13 ส.ค. 2563] สืบค้นจาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/2779

ประสิทธิ์ อุพาพรรณ. SEPSIS. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 ส.ค. 2563] สืบค้นจากhttp://med.swu.ac.th/internalmed/images/documents/handout/ID/PU/sepsis.pdf

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. Critical Care towards to Perfection. [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 13 ส.ค. 2563]. สืบค้นจาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/wp-content/uploads/2019/07/World-Sepsis-Day-Thailand-2016.pdf

สุพรรณ แสงสว่าง. การพยาบาลระยะฉุกเฉินในผู้ป่วย septic shock : กรณีศึกษา. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4 2557; 16(3): 242-251.

สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. Journal of the Phrae Hospital 2518; 26(1): 35-46.

มัณฑนา จิระกังวาน และ ชลิตา จันเทพา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยตัดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล 2015; 42(3): 9-32.

เนตรญา วิโรจวานิช. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Nursing and Health sciences 2018; 12(1): 84-94.

Downloads