การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดร่วมกับมีภาวะช็อค: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้คลอด, ภาวะตกเลือดหลังคลอด, ภาวะช็อคบทคัดย่อ
การตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมและเป็นสาเหตุการตายที่พบได้บ่อยที่สุดสาเหตุอาจเกิดจากกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี การตกค้างของเนื้อเยื่อรกในโพรงมดลูก การบาดเจ็บ ต่อช่องทางคลอดและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หลักสำคัญในการดูแลรักษาคือ หาสาเหตุ แล้วให้การดูแลรักษาตามสาเหตุร่วมกับการให้สารน้ำและเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็วและเพียงพอ เตรียมห้องผ่าตัดและทีมในการผ่าตัดให้พร้อมไว้เสมอ
กรณีศึกษาเป็นหญิงไทยวัย 40 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่ 5 ไม่เคยแท้งบุตร อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสิงห์บุรีด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอด มีน้ำเดิน 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ปฏิเสธโรคประจำตัว ระยะที่ 1 -2 ของการคลอด ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวด เพิ่มความสุขสบาย เฝ้าระวังภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน และให้การดูแลตามแนวทางเพื่อป้องกัน การตกเลือดหลังคลอด (Active management of third stage of labor :AMTSL) คลอดปกติ ทารกเพศชาย น้ำหนัก 3,710 กรัม Apgar score ที่ 1, 5 นาที = 9,10 ระหว่างการทำคลอดรก พบว่ารกติดแน่น มีเลือดออก 550 ซีซี ระดับความเข้มข้นของเลือด 27.6 เปอร์เซ็นต์ ได้ให้การพยาบาลตามมาตรฐาน การป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยการให้ออกซิเจน เพิ่มการให้สารน้ำ ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตาม Protocol ให้เลือดทดแทน หลังคลอดรก 20 นาที มีเลือดออกเพิ่มอีก 550 ซีซี ขณะเย็บแผล มีเลือดไหลซึมออกตลอดอีก 400 ซีซี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะช็อครุนแรง ระดับความดันโลหิตลดลงอย่างต่อเนื่อง (70/55-84/47 มิลลิเมตรปรอท) และจำเป็นต้องให้ยาเพิ่มระดับความดันโลหิต (Dopamine) ไม่สามารถหยุดเลือดได้แพทย์จึงพิจารณาผ่าตัดมดลูก(Total Hysterectomy) เพื่อหยุดเลือดด่วน ระหว่างผ่าตัด เสียเลือดอีก 500 ซีซี รวมทั้งสิ้น 2,000 ซีซี หลังผ่าตัดจึงได้รับการดูแลต่อที่หอผู้ป่วยหนัก 2 วัน ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อค แผลผ่าตัดแห้งดี เลือดออกทางช่องคลอดปกติ ย้ายดูแลต่อที่หอผู้ป่วยหลังคลอด สามารถดูแลบุตรและไม่มีปัญหาการให้นมบุตร รวมระยะเวลาการนอนรักษาในโรงพยาบาล 4 วัน พยาบาลห้องคลอดมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ผู้คลอดปลอดภัย จึงต้องมีความรู้ความสามารถ ในการดูแลผู้คลอดทุกระยะของการคลอด เริ่มจากการประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด การเฝ้าระวังอาการเตือนของการตกเลือดหลังคลอด ให้การพยาบาลตามแนวทางการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด เตรียมความพร้อมของทีม อุปกรณ์ เครื่องมือ ยา รวมทั้งการช่วยแพทย์ทำหัตถการต่าง ๆ จนถึงการเตรียมผ่าตัดในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพ้นภาวะวิกฤติยังมีบทบาทสำคัญในการเตรียมมารดาหลังคลอดให้สามารถดูแลตนเองและบุตรได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
References
World Health Organization. SDG3: Ensure healthy lives and promote wellbeing for all at all ages. Geneva: WHO; 2015.
กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.
Prata N, Bell S, Weidert K. Prevention of postpartum hemorrhage in low-resource settings: current perspectives. Int J Womens Health; 2013; 13(5):737-52.
Azar M, Jennifer A H , Lily L. et al. Trends in postpartum hemorrhage from 2000 to 2009: a population-based study. BMC Pregnancy & Childbirth; 2012; 12: 108.
ศิริวรรณ วิเลิศ, ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญและ ดรุณี ยอดรัก. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดในมารดาคลอดทางช่องคลอด ในหอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย; 2559; 9(2): 173-199.
Murray SS, McKinney ES. Pain management during childbirth. In: Foundation of Maternal-newborn and women’s health nursing. 6th ed. St. Louis: Mosby Elsevier; 2014: 278-82.
World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment ofpostpartum haemorrhage. Italy: WHO; 2012.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลสิงห์บุรี หน่วยงานห้องคลอด. รายงานประจําปี 2562. สิงห์บุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรี ; 2562.
ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; 2560; 6(2): 146-157.
World Health Organization (WHO). WHO guidelines for the management of postpartum haemorrhage and retained placenta. Geneva: WHO; 2009.
Combs CA, Murphy EL, Laros RK, Jr. Factors associated with postpartum hemorrhage with vaginal birth. Obstet Gynecol; 2012;77:69-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว