การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมร่วมกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบทคัดย่อ
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 64 ปี แพทย์วินิจฉัยโรค Osteoarthritis right knee มีโรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน ได้รับการทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total knee Arthroplasty) ข้างขวา under SB วันทำผ่าตัด แผลผ่าตัด และอาการทั่วไปและสัญญาณชีพคงที่ หลังทำผ่าตัด 1 วัน ผู้ป่วย มีภาวะน้ำตาล ในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ได้รับการรักษาโดยให้น้ำตาล และสารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ป่วยได้รับการทำแผล ฟื้นฟูร่างกาย จนเดินแบบลงน้ำหนักบางส่วนโดยใช้เครื่องพยุง งอเข่าขวาได้ 110 องศา แผลผ่าตัดแห้งดี แพทย์จำหน่ายให้กลับบ้านได้ ให้ไปทำแผลสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านวันละ 1 ครั้ง ครบ 14 วันตัดไหม นัดเข้าคลินิกเบาหวาน และให้มาตรวจตามนัด 2 สัปดาห์ ปัญหาและให้การพยาบาลสำคัญ ๆ คือ วิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกเนื่องจากสูญเสียเลือดหลังผ่าตัด, มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ไม่สุขสบายจากปวดแผลผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำเนื่องจากความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองไม่เพียงพอ, มีโอกาสเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่าเทียม, มีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน, มีโอกาสเกิดพลัดตกหกล้มขณะฝึกเดิน, วิตกกังวลเนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้านไม่เพียงพอ รวมนอนโรงพยาบาลทั้งหมด 12 วัน
พยาบาลมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการประเมินอาการผู้ป่วย ที่ถูกต้อง รวดเร็วมีการเฝ้าระวังและให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่ทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ มีการใส่อวัยวะเทียมในร่างกาย จะมีเลือดออกมาก มีโอกาสติดเชื้อได้ และเป็นโรคเบาหวาน หลังผ่าตัดพบว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและเร่งด่วนถ้าแก้ไข ไม่ทันท่วงทีผู้ป่วย จะเสียชีวิตได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที สามารถให้คำแนะนำกับผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี แพทย์จึงอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้
References
ธวัช ประสาทฤทธา, พรทิพย์ ลยานันท์, สุขใจ ศรีเพียรเอม. การพยาบาลออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2555.
ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คอมพลีส พริ้นติ้ง; 2553.
ศุภฤทธิ์ เฮงคราวิทย์. การป้องกันและชะลอภาวะข้อเข่า เสื่อมในผู้สูงอายุวัยต้นในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26:105-10.
Erdogan, A. O., Gokay, N. S., & Gokce, A. Preoperative Planning of Total Knee Replacement. Arthroplasty: Update, 21, 2013.
เพ็ญศิริ ดวงผุนมาตย์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, กีรติ เจริญชลวานิช. พฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสุขศึกษา 2557;37:49-65.
หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย - หญิง. รายงานสถิติผู้ป่วยหอผู้ป่วยหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก ชาย – หญิง. โรงพยาบาลสิงห์บุรี, 2563.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว