การพยาบาลผู้ป่วยภาวะกรดแลคติกเกินที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน ร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เยาวภา เพียรพานิช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

กรดแลคติกเกิน, การใช้ยาเมทฟอร์มิน, ภาวะไตวายเฉียบพลัน, การพยาบาล

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาหญิงไทยวัย 65 ปี ประวัติเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับยาเมทฟอร์มิน 2 เม็ดหลังอาหารเช้า-เย็น เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช โดยส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน ด้วยอาการ 2 วันก่อนมาโรงพยาบาลอาเจียนเป็นเศษอาหาร 10 ครั้งต่อวัน และมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวปนมูก 6 ครั้ง ถึงโรงพยาบาลชุมชนผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ แพทย์ทำการใส่ท่อช่วยหายใจและวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็น Sepsis, Acute kidney injury โดยให้การรักษา Ceftriaxone 2 gm stat 0.9% NSS 1,000 ml 120 ml ถึงโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ผู้ป่วยมีภาวะ Severe metabolic acidosis พบ Wide anion gap 45.6 PH 7.013 แพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยมีภาวะ Metformin associated lactic acidosis ร่วมกับมีภาวะ Acute kidney injury แพทย์มีแผนการรักษาโดยการฟอกเลือด (Hemodialysis) อย่างเร่งด่วน และให้การรักษาภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย เพราะการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นทำให้เกิดภาวะ Metformin associated lactic acidosis พยาบาลให้การพยาบาลในระยะวิกฤตเพื่อแก้ไขภาวะ Severe metabolic acidosis เตรียมความพร้อมผู้ป่วยในการใส่สาย Double lumen Catheter (DLC) และการดูแลขณะฟอกเลือดและหลังการฟอกเลือด รวมถึงการให้การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย พยาบาลมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการตัดสินใจดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการพยาบาลที่ประกอบด้วยการประเมิน การวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผน การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผล ให้การดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤตจาก กรดแลกติกเกิน และภาวะไตวายเฉียบพลัน การพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมในการฟอกเลือด รวมถึงการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Hemodynamic monitoring) ในระยะวิกฤตอย่างทันท่วงที ซึ่งกรณีศึกษาปลอดภัยจากภาวะวิกฤต ย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญ ยุติการฟอกเลือดแบบเร่งด่วนได้ และจำหน่ายกลับบ้านรวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 7 วัน

ประเด็นที่ศึกษากรณีศึกษารายนี้ คือกรณีศึกษามีความซับซ้อนเป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นไม่บ่อยแต่มีภาวะวิกฤตรุนแรงถึงแก่ชีวิต จึงควรส่งเสริมให้พยาบาลมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และความสามารถในการตัดสินใจที่ดี ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่มีต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การดูแลก่อน ขณะ และหลังฟอกเลือด สะท้อนให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้มีความรอบรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านบริการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นการดูแลตามกระบวนการพยาบาล ครอบคลุม และสะท้อน 4 มิติทางการพยาบาล ได้แก่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ ทั้งนี้ภาวะ MALA เป็นสาเหตุหรือปัจจัยชักนำของการเสียชีวิตที่พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแล ไม่ทันท่วงที อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตไปตลอดชีวิตได้ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวอย่างยิ่ง

References

Komthamixay, P. & Pokhagul, P. การใช้ยา metformin กับความเสี่ยงการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (lactic acidosis) ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ. 2559;19(3): 75-78.

ฝ่ายเวชสารสนเทศ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช.รายงานประจำปี 2560-2563.

รจนา จักรเมธากุล. บทความฟื้นวิชาการ: ภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกเกินซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(1):147-151.

ชัยวัฒน์ พิสุทธิ์ไพศาล. การรักษาภาวะ Metformin associated lactic acidosis โดยการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2551;5(3): 926-936.

ภัสสร ลือยรรยงศิริ, บุญฑริกา เพิ่มทรัพย์ และสุมาลี บุญมี .อุบัติการณ์ความเสี่ยงของภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มินลดลงได้จากการให้ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมิเดีย. ร้อยเอ็ดวารสาร. 2561.

เฟื่องรักษ์ ร่วมเจริญ. ภาวะกรดในเลือดจากยา Metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาในโรงพยาบาลนครพนม ปี 2553-2556. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2556; 24(2):139-145.

ดุสิต สถาวร ครรชิต, ปิยะเวชวิรัตน์ และ สหดล ปุญญถาวร. The Acute Care. สมาคมวิกฤตแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรธ์ จำกัด. 2558.

ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรค Hand book of medical diagnosis. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์; 2558.

Downloads