ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ชัชวาลย์ บุญญฤทธิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสิงห์บุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อ การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและเข้ารับการรักษาไว้เป็นผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2561 – 31 ตุลาคม พ.ศ.2562

ผลการศึกษา: พบว่ามีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งสิ้น 132 ราย อายุเฉลี่ย 69.80 + 11.84 ปี ผู้ป่วย 98 ราย (ร้อยละ 74.24) มีอาการในกลุ่ม neuroglycopenic โดยที่ส่วนใหญ่ 47 ราย (ร้อยละ 35.61) มีอาการหมดสติ ไม่รู้สึกตัวก่อนมาโรงพยาบาล ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยคือ การรับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (r=0.183; p<0.05) ส่วนการใช้ยากลุ่ม Sulfonylureas และความไม่ร่วมมือในการใช้ยาตามสั่งมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (r=-0.173 และ -0.182 ตามลำดับ; p<0.05) นอกจากนี้การรับประทานอาหารได้น้อยลงยังมีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.348 สามารถทำนายภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ร้อยละ 12.1

สรุปผลการศึกษา: อาการในกลุ่ม neuroglycopenic คืออาการส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือการใช้ยากลุ่ม Sulfonylureas การรับประทานอาหารได้น้อยลงและความไม่ร่วมมือในการใช้ยาตามสั่ง นอกจากนี้ การรับประทานอาหารได้น้อยลงสามารถใช้ทำนายภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 9th ed.Brussels, Belgium: International Diabetes Federation; 2019.

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 8th ed.Brussels, Belgium: International Diabetes Federation; 2017.

Health Data Center (HDC). ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี. [อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2019&source=pformated/format1.php&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3.

Chan SP, Ji LN, Nitiyanant W, et al. Hypoglycemic symptoms in patients with type 2 diabetes in Asia-Pacific-Real-life effectiveness and care patterns of diabetes management: the RECAP-DM study. Diabetes Res ClinPract 2010;89(2):e30-2.

ชนากานต์ ชัยธนกุล, นฤชา โกมลสุรเดช. ความถี่และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการน้ำตาลต่ำในเลือดและความกลัวภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่สอง ณ หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562;13(3):312-22.

สุพัชรี ใจแน่, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ปัจจัยทำนายภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ตอนบน. วารสารเกื้อการุณย์ 2559;23(1):148-62.

พรเทพ วัฒนศรีสาโรช, ละออง สาลีพวง, สุวรรธนา จงห่วงกลาง. ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลกบินทร์บุรี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559;13(3):51-60.

วัลลภ เกิดนวล. การดูแลผู้ป่วยเบาหวานภาวะเลือดพร่องน้ำตาล โรงพยาบาลพยุหะคีรี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551;2(1):596 - 603.

วไลลักษณ์ เพ่งฤทธิ์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Schopman JE, Simon AC, Hoefnagel SJ, et al. The incidence of mild and severe hypoglycaemia in patients with type 2 diabetes mellitus treated with sulfonylureas: a systematic review and meta-analysis. Diabetes Metab Res Rev. 2014;30(1):11-22.

Downloads