การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในผู้ป่วยโรคหัวใจ: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, กรณีศึกษาการพยาบาลบทคัดย่อ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากเป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน มีสาเหตุจากการอุดตันของหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเร่งด่วนโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด พยาบาลมีหน้าที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ในการประเมิน คัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยการศึกษาประวัติผู้ป่วยจากการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบแผนสุขภาพ 4 แผน การรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันใช้การรักษาพยาบาลแบบระบบช่องทางด่วน (Fast track STEMI) งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี รวมถึงการวางแผนการจำหน่าย
วัตถุประสงค์ : เพื่อการศึกษาการดำเนินโรค การรักษา และการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายในระยะเฉียบพลันและศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย
วิธีการศึกษา : การศึกษาเป็นรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง 2 ราย ดำเนินการศึกษาระหว่าง เดือนมิถุนายน 2562 - กรกฎาคม 2563
ผลการศึกษา : จากการศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 2 ราย พบว่ากรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 66 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการหายใจไม่สะดวก เจ็บที่หน้าอกก่อนมา 90 นาที มีอาการจุกแน่นใต้ลิ้นปีเป็นขณะนอนอยู่ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ได้รับการรักษาโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือด ขณะให้ยามีภาวะแทรกซ้อน คือ ความดันโลหิตต่ำขณะให้ยาได้ปรับแผนการดูแลผู้ป่วย และให้การพยาบาลตามแผนการรักษา รายที่ 2 ผู้ป่วยชาย อายุ 66 ปีมาด้วยอาการจุกแน่นหน้าอกใต้ลิ้นปี่ไม่มีร้าวไปที่ใด ก่อนมาโรงพยาบาล 30 นาที 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดคอปวดหลัง รักษาโดยการรับประทานยาสมุนไพรไม่ทุเลา ต่อมามีอาการใจสั่นเหงื่อออกปวดกราม ปวดต้นคอมากขึ้น ผู้ป่วยมีประวัติเป็น โรคไขมันในเส้นเลือดมา 11 ปี รักษามาโดยตลอดผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Streptokinase) และได้รับเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ICU จากการติดตามมีความสำเร็จในการเปิด หลอดเลือดรายที่ 1 เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ICU 1 วันและรายที่ 2 เข้ารับการรักษา 2 วัน จึงส่งต่อไปรับการรักษา ที่โรงพยาบาลทรวงอก และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าตามลำดับ ผู้ป่วยทั้ง 2 รายไดรับการรักษาตามแนวทางการรักษาของระบบ Fast track MI
สรุปผลการศึกษา: จากกรณีศึกษา บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในภาวะวิกฤต มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประเมิน คัดกรองผู้ป่วยอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วพยาบาลต้องมีความรู้ในเรื่องการบริหารยา การเฝ้าระวังภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ นับตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จนกระทั่งส่งต่อในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าสามารถลดการสูญเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
References
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ. 2561.
ปารียา เกกินะ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต กรณีศึกษาในโรงพยาบาลกระบี่. กระบี่เวชสาร, 2561; 1(1): 1-9.
เกรียงไกร เฮงรัศมี. ใน เกรียงไกร เฮงรัศมี และกนกพร แจ่มสมบูรณ์ บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. นนทบุรี : สุขุมวิทย์ การพิมพ์, 2555.
งานเวชระเบียนและสถิติ. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีประจำปี 2560-2562, 2563.
มรกต ภัทรพงศ์สินธุ์. ผลการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายแบบเฉียบพลันชนิด ST-elevation ในโรงพยาบาลชัยภูมิ วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 2558 ;37: 95-104.
Antman, E. M., Hand, D. T., Armstrong, P.W., Bates, E. R., Green, L. A., Hand, M., &Mullany, C. J. ACC/AHA guidelines for the management of patients with ST-elevation myocardial infarction.Journal of the American college of cardiology, 3 (44).
Edhouse, J. A, Sakr, M , Wardrope, J , and Morris, F. P. Thrombolysis in acute myocardial infarction: the safety and efficiency of treatment in the accident and emergency department. J AccidEmerg Med, 1999; 16: 325-330.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว