การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ
คำสำคัญ:
ภาวะช็อคจากการติดเชื้อ, กรณีศึกษาเปรียบเทียบบทคัดย่อ
การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อ (Septic shock) ซึ่งมีอัตราการตายสูง การใช้แนวปฏิบัติในการดูแลและจัดการผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis guideline) โดยกำหนดเป้าหมายของการรักษาในระยะ 6 ชั่วโมงแรก (Early Goal Direct Therapy: EGDT) จะช่วยลดอัตราการตายได้
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อ รายที่ 1 แพทย์วินิจฉัย Bacterial pneumonia R/O CHF รายที่ 1 แพทย์วินิจฉัย UTI / Sepsis ทั้ง 2 รายได้รับการปฏิบัติตาม Sepsis guideline แต่เนื่องจากผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลในระยะ 6 ชั่วโมงแรก ไม่บรรลุเป้าหมาย ทำให้ผู้ป่วยทั้ง 2 รายเกิดการทำงานของอวัยวะล้มเหลว (Organs dysfunction) โดยเฉพาะระบบการหายใจล้มเหลวทำให้ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้บรรลุผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลผู้ป่วย Sepsis ในระยะ 6 ชั่วโมงแรก คือ Competency ของพยาบาลในการประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง จึงควรเน้นให้พยาบาลตระหนักถึงความสำคัญของการพยาบาลที่สอดคล้องกับรักษาแบบมุ่งเป้าใน 6 ชั่วโมงแรก เนื่องจากจะช่วยชะลอการล้มเหลวของอวัยวะสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้
References
สำนักตรวจราชการกระทรวง สาธารณสุข. รายงานการตรวจราชการ ประจำปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. [2562]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/2779.
ประสิทธิ์ อุพาพรรณ. SEPSIS. [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://med.swu.ac.th/internalmed/images/documents/handout/ID/PU/sepsis.pdf.
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. Critical Care towards to Perfection. [อินเตอร์เน็ต]. [2558]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2563). เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/wp-content/uploads/2019/07/World-Sepsis-Day-Thailand-2016.pdf.
สาธร ธรรมเนียมอินทร์. (2561). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 16(2): 58-68.
สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. Journal of the Phrae Hospital. 2518; 26(1): 35-46.
อ้อย เกิดมงคล. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิตและภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตโดยนำแนวคิดและแบนแผนสุขภาพตามทฤษฎีทางการพยาบาลของกอร์ดอน และทฤษฎีทางการพยาบาลของโอเร็มมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์. LANNA PUBIC HEALTH JOURNAL. 44-51.
มัณฑนา จิระกังวาน และ ชลิตา จันเทพา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยตัดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล. 2015; 42(3): 9-32.
เนตรญา วิโรจวานิช. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Nursing and Health sciences. 2018; 12(1): 84-94.
สุรัตน์ ทองอยู่, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล. การดูแลผู้ป่วย severe sepsis. [อินเตอร์เนต]. [2561]. [เข้าถึงเมื่อ 19 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/SevereSepsis_140203.pdf.
ทิฏฐิ ศรีวิสัยและวิมล ก่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ความท้าทายของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2560; 9(2): 152-162.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว