การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักน้อย ร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนด, ภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
ทารกเกิดก่อนกำหนดและมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการเจ็บป่วยและภาวะอัตราตายสูงกว่าทารกครบกำหนด การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด โดยเฉพาะทารกน้ำหนักตัวน้อย จึงจำเป็นต้องตระหนักและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
กรณีศึกษา ทารกเพศชาย อายุครรภ์ 31 สัปดาห์ (by Ballard score system) คลอดโดยวิธีธรรมชาติทางช่องคลอด APGAR SCORE นาที่ที่ 1 เท่ากับ 9 คะแนน นาทีที่ 5 เท่ากับ 9 คะแนน น้ำหนักแรกเกิด 1,510 กรัม รับย้ายจากห้องคลอดมาที่ NICU โดยตู้อบแบบเคลื่อนที่ แรกรับ ทารกมีภาวะเขียวทั้งตัว และมีอาการหายใจลำบาก นำทารกเข้าตู้อบปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมจากนั้นใส่ท่อหลอดลมคอช่วยหายใจ พร้อมกับพ่นสารลดแรงตึงผิวในปอดและต่อเครื่องช่วยหายใจ งดสารน้ำสารอาหาร ใส่ OG tube และใส่สายสวนเส้นเลือดทางสะดือ ให้อาหารทาง TPN และให้ยาฆ่าเชื้อ Ampicillin, Gentamicin การวินิจฉัยครั้งแรก Preterm with Low birth weight with Respiratory distress syndrome ระหว่างทำการรักษาทารกมีภาวะตัวเหลือง ได้รับการส่องไฟรักษา มีภาวะซีด ได้รับการให้เลือด ทั้งหมดนี้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล จนกระทั่งทารกสามารถหายใจเองได้ สามารถดูดนมได้ปกติจึงวางแผนจำหน่ายทารกโดยให้มารดามีส่วนร่วมในการดูแลสุดท้ายสามารถจำหน่ายทารกได้รวมระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลจำนวน 25 วัน ด้วยน้ำหนัก 2,020 กรัม จากการติดตามไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น จอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด, การสูญเสียการได้ยิน, ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง การวินิจฉัย ครั้งสุดท้าย Preterm with Low birth weight with respiratory distress syndrome with anemia of prematurity with neonatal jaundice บทบาทของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย NICU มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาพยาบาลทารกในภาวะวิกฤต ปัจจุบันอัตราการรอดของทารกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนดและมีภาวะน้ำหนักตัวน้อย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและทุพพลภาพที่จะเป็นปัญหาระยะยาว จึงควรมีการดูแลอย่างต่อเนื่องดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้และพัฒนาทักษะความชำนาญในการดูแลทารกเพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดคุณภาพทางการพยาบาล เพื่อดูแลทารกให้รอดชีวิต มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด
References
Tucker J, McGuire W. Epidemiology of preterm birth. BMJ. 2004; 329(7467): 675-8.
World Health Organization. Neonatal and perinatal mortality: Country, regional and global estimates. France: World Health Organization; 2006.
Bureau of Policy and Strategy, Public Health Ministry. Public health statistic a.d. 2015. Bangkok: The War veterans organization press; 2015. [Internet]. [cited 2016 Mar 28]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistic2558.pdf
Kelly MM. Primary care issues for the healthy premature infant. J Pediatr Health Care. 2006; 20(5): 293-9.
McCourt MF, Griffin CM. Comprehensive primary care follow-up for premature infants. J Pediatr Health Care. 2000; 14(6): 270-9
วรางทิพย์ คูวุฒยากร. การช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก การใช้ CPAP และการให้ออกซิเจน. ใน: สันตปุณณะหิตานนท์, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการประจำปี 2556 ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทยupdate and practical points in preterm care. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอตทีฟ พริ้นท์ จำกัด; 2561. หน้า 134-52.
หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม. (2562). รายงานสถิติผู้ป่วยหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว