การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายผ่านกล้องวิดีทัศน์: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย, การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายบทคัดย่อ
กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายผ่านกล้องวิดีทัศน์ ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 78 ปี เข้ารับการรักษา ด้วยอาการท้องผูกสลับท้องเสียมีเลือดสดปน รับการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ และทวารหนักเพื่อนำชิ้นเนื้อส่งตรวจ พบมะเร็งสำไส้ใหญ่ส่วนปลาย แพทย์นัดผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนปลายผ่านกล้องวีดีทัศน์ ปัญหาการพยาบาลที่พบในผู้ป่วยรายนี้คือก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยวิตกกังวลเรื่องโรค กลัวการผ่าตัดและการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้าน ขณะผ่าตัดมีความยุ่งยากซับซ้อน บริเวณผ่าตัดอยู่ในอุ้งเชิงกราน มีการใช้กล้องวิดีทัศน์ใช้อุปกรณ์พิเศษใส่เข้าไปเลาะตัดเนื้อเยื่อเพื่อตัดก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ออก ร่วมกับใช้ เครื่องมือตัดต่อลำไส้อัตโนมัติ เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า การเกิดภาวะช็อกจากเสียเลือดและสารน้ำ การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง การเกิดภาวะลมรั่วในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง อาจเปลี่ยนการผ่าตัดแบบเปิดได้ หลังการผ่าตัดเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังผ่าตัด มีความไม่สุขสบายจากความเจ็บปวดแผลผ่าตัด หลังจากใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย นำมาวินิจฉัยการพยาบาล วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผลในระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด ผู้ป่วยฟื้นจากภาวะการเจ็บป่วยและปลอดภัยจากภาวะวิกฤติ พร้อมรับการรักษาเคมีบำบัดรวมระยะเวลานอนโรงพยาบาลทั้งหมด 13 วัน
References
World Health Organization (WHO). Cancer,Fact sheet.February2018.[internet2018-mar-3];Available from://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs297/en/.
ชนินทร์ ลิ่มวงศ์.พันธุศาสตร์ของมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ถ่ายทอดโรคมะเร็งทางพันธุกรรม.ใน: ต้น คงเป็นสุข, วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา, วรุตม์ โล่สิริวัฒน์, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ เล่ม52. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2557:1-23.
สุวรรณี สิริเลิศตระกูล. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. ในสุวรรณี สิริเลิศตระกูล, สุวลักษณ์ วงส์จรรโลงศิล, ประไพ อริยประยูร, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สมุทรปราการ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง; 2555:111-124.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.ทะเบียนมะเร็งระดับประชากร.จำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://tcb.nci.go.th/CWEB/cwebBase.do?mode=initialApplication
ปวิช สุธารัตน์. Pitfal in laparoscopic colorectal surgery. ใน:ต้น คงเป็นสุข, บุญชัย งามสิริมาศ, ธีรนุช บุญพิพัฒนาพงศ์, วรุตม์ โล่สิริวิวัฒน์, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ เล่ม54. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2559:275-331.
วันดี สำราญราษฎร์. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี;ปีที่1ฉบับที่2.2561[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/169888/122156.
อติคุณ ธนกิจ. การระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบไร้ท่อ. ใน:วิมลรัตน์ ศรีราช, อรลักษณ์ รอดอนันต์, นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. ก้าวไกลวิสัญญี4.0 ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพลส จำกัด, 2562:420-444.
โรงพยาบาลอ่างทอง. รายงานสถิติการผ่าตัดโรงพยาบาลอ่างทองปีงบประมาณ 2560-2562. อ่างทอง:ศูนย์สารสนเทศโรงพยาบาลอ่างทอง; 2562.
ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. การระงับความรู้สึกผู้ป่วยส่องกล้องท่อ. ใน:วิมลรัตน์ ศรีราช, อรลักษณ์ รอดอนันต์, นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. ก้าวไกลวิสัญญี 4.0 ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพลส จำกัด, 2562:249-267.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว