ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเดินของผู้สูงอายุหลังข้อสะโพกหัก ในผู้ป่วยที่นอนรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • วิทวัส รัตนายน งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ข้อสะโพกหัก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเดินได้ในผู้สูงอายุหลังข้อสะโพกหัก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชด้วยภาวะข้อสะโพกหัก ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 จำนวน 72 คน ที่แพทย์ส่งปรึกษานักกายภาพบำบัดฝึกเดิน โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบเวชระเบียนแรกรับผู้ป่วยของงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช,การประเมินดัชนีมวลกาย,การตรวจกำลังกล้ามเนื้อ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการกลับมาเดินได้ในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ได้แก่ อายุ ความสามารถในการเดินก่อนหัก ความสามารถในการลุกนั่งด้วยตนเอง ระยะเวลาในการฝึกเดิน กำลังกล้ามเนื้อแขน กำลังกล้ามเนื้อขาข้างที่ไม่หัก ความสามารถในการยกขาข้างหักหลังผ่าตัด ค่าดัชนีมวลกาย โรคประจำตัวและการมีหรือไม่มีญาติดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

Stone JT, Wyman JT, Salisbury SA. Clinical gerontological nursing. 2nd ed. Pheladelphia: W. B. Saunders Company; 1999.

Williams MA, Oberst MT, Bjorklund BC. Early out comes after hip fracture among women discharged home and to nursing home. RINAH 1994; 17(6): 175-83.

ชาญยุทธ ศุภชาติวงศ์, กระดูกหักและข้อเคลื่อนที่สะโพกและต้นขา. ใน วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ์, บรรณาธิการ. ออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2550. หน้า 170-6.

สุขฤทัย วิโรจน์ยุติ, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, สุปรียา ตันสกุล. ประสิทธิผลของ โปรแกรมฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักของผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(2): 187-94.

ทัศนีย์ ธนะศาล. พฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกขาหักโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์. 5 อันดับโรคหลักผู้ป่วยใน แผนกศัลยกรรมออร์โรปิดิกส์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. ใน: รายงานประจำปี 2562 โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. รอตีพิมพ์ 2562.

ลัดดา คมโสภาพงส์, ฉัฐยา จิตประไพ, ภัทรวรรณ อภิญาสวัสดิ์, นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล, สุกัญญา วิบูลย์พานิช, วนาพรรณ ชื่นอิ่ม. กายภาพบำบัดในผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหัก. เวชศาสตร์ ฟื้นฟูสาร 2543;10(1):17-22.

Levi SJ. Posthosipal setting, resource utilization and self care outcome in order woman with hip fracture. Arch Phys Med Rehabil. 1997; 78: 973-9.

มานี หาทรัพย์, มงคลชัย หาทรัพย์, ทัศนีย์ นะแส. ความรู้ความสามารถของผู้ดูแลหลักในการดูแล ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 2557; 34(2): 53-66.

เทอดชัย ชีวะเกตุ.ข้อเสื่อมสภาพ. จุลสารชมรมช่างกายอุปกรณ์แห่งประเทศไทย 2552; 4(2): 4-7.

WHO/IASO/IOTF. The Asia-Pacific Perspective: Redefining Obesity and its Treatment.Health Communications Australia Pty Ltd, 2000.

Kendall FP, McCreary EK, Provance PG. Muscles-testing and function. 4th ed. Baltimore: Williams and Wilkins; 1993.

สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, พัชรินทร์ พุทธรักษา, สุพิน สาลิกา, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. ความสามารถใน การทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภออัมพวา. วารสารกายภาพบำบัด 2560; 39(2): 52-62.

Gumieiro DN, Rafacho BP, Gradella LM, Azevedo PS, Gaspardo D, Zornoff LA, et al. Handgrip strength predicts pressure ulcer s in patients with hip fractures. Nutrition 2011; 28(9): 874–8.

สุวิมล แคล่วคล่อง, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, ก้องเขต เหรียญสุวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโรคร่วม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการกำมือและความวิตกกังวลกับการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักภายหลังผ่าตัด. วารสารสภาการพยาบาล 2557; 29(2): 36-48.

Downloads