การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มลำคอชั้นลึกร่วมกับ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มลำคอชั้นลึก, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มลำคอชั้นลึก (Deep neck infections) ร่วมกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตเนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงของทางเดินหายใจอุดกั้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้การดำเนินของโรครุนแรงมากขึ้นและส่งผลให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 51 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช วันที่ 6 มีนาคม 2562 โดยส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน ด้วยอาการปวด บวม บริเวณคางทั้ง 2 ข้าง อ้าปากได้น้อย มีไข้ เป็นมา 4 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล มีโรคประจำตัวเบาหวาน วินิจฉัยมีการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มลำคอชั้นลึก ผล CT neck พบ fluid collection right parapharyngeal space with extend to right masticator space และมีการอักเสบจนมีแรงดันทำให้ช่องคอบริเวณ Oropharynx และ Hypopharynx แคบลง พยาบาลให้การดูแลเพื่อแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน และแก้ไขภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด เตรียมตัวเพื่อทำผ่าตัดระบายหนอง หลังผ่าตัดผู้ป่วยใส่ท่อหลอดลมคอต่อเครื่องช่วยหายใจ เฝ้าระวังสัญญาณชีพในภาวะวิกฤต ให้ยาปฏิชีวนะตามเวลาอย่างเคร่งครัด คือ Tazocin 4.5 gm ทางหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง ผลการเพาะเชื้อจากแผลพบเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ผลเอกซเรย์ปอดพบมี Right lung infiltration ผลเสมหะเพาะเชื้อ พบ Pseudomonas Aeruginosa พบภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในทางเดินอาหาร ดูแลให้เลือด ทำ NG lavarge ให้ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จนไม่พบว่า มีเลือดออกซ้ำ ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 3 วันหลังผ่าตัดผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ แผลบริเวณคางด้านขวาและภายในช่องปากมีหนองออกน้อยลง แก้มด้านขวายุบบวมลง ได้รับการดูแลบาดแผลและบำบัดความเจ็บปวด ไม่พบว่ามีการติดเชื้อซ้ำซ้อนทางบาดแผลในระหว่างการดูแลรักษา จำหน่ายผู้ป่วยวันที่ 23 มีนาคม 2562 รวมระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล 17 วัน
พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ในระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูและเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน ต้องมีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยขณะใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง การป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น จากการติดเชื้อทางเดินหายใจ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและครอบครัว มีการวางแผนจำหน่ายอย่างเป็นขั้นตอน จะทำให้ปัญหาของผู้ป่วยได้รับการแก้ไขเพื่อให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรค ไม่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล
References
บุญชัย วิรบุญชัย. การติดเชื้อบริเวณลำคอส่วนลึก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2552; 1: 173-80.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หน่วยงานหู คอ จมูก. รายงานประจําปี 2562. ลพบุรี :โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช; 2562.
Huang I.T., Lui T.C., Chen P.R. Deep neck infection : analysis of 185 case. Head Neck; 2007; 26(10): 854-60.
สุณีรัตน์ คาเสรีพงศ์ และดวงมณี เลาหประสิทธิพร. แนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ Severe Sepsis / Septic shock โรงพิมพ์ศิริราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และ ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต Clitical Care Nursing. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
Lee YQ, Kanagalingan J. Deep neck abscesses : The singapol experienos. Eur Arch Otorhinolaryngol; 2001; 268(4): 609-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว